บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนชุมชนบ้านแม่จะเราบ้านทุ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 2.เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ จำแนกตามตัวแปรการดำเนินการ และตำแหน่งในการปฎิบัติหน้าที่ ประชากรที่ศึกษาครั้งนี้ได้แก่ คณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษา
ปีการศึกษา 2563 จำนวน 21 คน (ยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษาและตัวแทนครู) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 216 คน นักเรียน จำนวน 216 คน รวมทั้งสิ้น 453 คน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาครั้งนี้ได้จาก การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie&Morgan,1970 :608 - 609) ได้กลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ คณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 21 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 113 คน นักเรียน จำนวน 80 คน รวมทั้งสิ้น 209 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนชุมชน บ้านแม่จะเราบ้านทุ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตาก เขต 2 สรุปได้ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลตำแหน่งในการปฎิบัติหน้าที่ ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า เป็นผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน จำนวน 188 คน เป็นคณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 21 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 209 คน
ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษาผลการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนชุมชนบ้านแม่จะเราบ้านทุ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2
ใน 4 ด้าน
ก่อนดำเนินการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนชุมชนบ้านแม่จะเราบ้านทุ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด ได้แก่ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดสิ่งแวดล้อม ที่สะอาด เป็นระเบียบและปลอดภัย และระดับความคิดเห็นต่ำสุด ได้แก่ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน และแหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
หลังดำเนินการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนชุมชนบ้านแม่จะเรา บ้านทุ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา รายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด ได้แก่ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน และแหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดระบบสาธารณูปโภคที่ดี และระดับความคิดเห็นต่ำสุด ได้แก่ ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมที่สะอาด เป็นระเบียบและปลอดภัย
ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนชุมชนบ้านแม่จะเราบ้านทุ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 จำแนกตามการดำเนินการและตำแหน่งในการปฏิบัติหน้าที่
1. ผลการเปรียบเทียบการดำเนินการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนชุมชนบ้านแม่จะเราบ้านทุ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 จำแนกตามตัวแปร การดำเนินการ ในภาพรวมพบว่า ก่อนดำเนินการและหลังดำเนินการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนชุมชนบ้านแม่จะเราบ้านทุ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 4 ด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 4 ด้าน
2. ผลการเปรียบเทียบการดำเนินการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนชุมชนบ้านแม่จะเราบ้านทุ่ง สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 จำแนกตามตัวแปร ตำแหน่งในการปฏิบัติหน้าที่ ในภาพรวมพบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 4 ด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ทั้ง 4 ด้าน