ชื่อเรื่อง รายงานผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ของโรงเรียนบ้านลำภาศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2
ชื่อผู้วิจัย นายณัฐวัฒน์ คำแหง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านลำภาศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ คือ 1) เพื่อประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านลำภาศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ตามโมเดลการประเมินแบบ CIPP Model ของ Stufflebeam 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านลำภาศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ระหว่างก่อนและหลังดำเนินโครงการ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านลำภาศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะครูโรงเรียนบ้านลำภาศ โดยเลือกครูที่สอน และเป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 จำนวน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านลำภาศ จำนวน 9 คน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง โรงเรียนบ้านลำภาศ จำนวน 11 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 โรงเรียนบ้านลำภาศ จำนวน 52 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 โรงเรียน บ้านลำภาศ จำนวน 52 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มจากประชากร ระยะเวลาในการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2563 โดยเริ่มจากวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( )ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ สถิติทดสอบ t - test แบบ Dependent
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านลำภาศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ตามโมเดล การประเมิน CIPP Model ก่อนดำเนินโครงการ โดยภาพรวมทุกรายการ มีการปฏิบัตินานๆ ครั้ง หรือปฏิบัติได้ผลน้อย เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีผลการประเมินสูงสุดคือ ด้านผลผลิต มีการปฏิบัตินานๆ ครั้ง หรือปฏิบัติได้ผลน้อย ด้านที่มีผลการประเมินต่ำสุดคือ ด้านกระบวนการ มีการปฏิบัตินานๆ ครั้ง หรือปฏิบัติได้ผลน้อย
2. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านลำภาศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ตามโมเดล การประเมิน CIPP Model หลังดำเนินโครงการ โดยภาพรวมทุกรายการ มีการปฏิบัติบ่อยครั้ง หรือปฏิบัติได้ผล ดีมาก เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีผลการประเมินสูงสุดคือ ด้านผลผลิต มีการปฏิบัติบ่อยครั้ง หรือปฏิบัติได้ผลดีมาก ด้านที่มีผลการประเมินต่ำสุดคือ ด้านสภาวะแวดล้อม มีการปฏิบัติบ่อยครั้ง หรือปฏิบัติได้ผลดีมาก
3. เปรียบเทียบผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านลำภาศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ตามโมเดลการประเมินแบบ CIPP Model ของ Stufflebeam ก่อนและหลังดำเนินโครงการ ปรากฏว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน โดยผลการประเมินก่อนดำเนินโครงการ มีการปฏิบัตินานๆ ครั้ง หรือปฏิบัติได้ผลน้อย และผลการประเมินหลังดำเนินโครงการ มีการปฏิบัติบ่อยครั้ง หรือปฏิบัติได้ผลดีมาก
4. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านลำภาศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกเป็น รายประเด็น พบว่า ประเด็นที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ โรงเรียนให้ความสำคัญ ในโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และประเด็นที่มีผลการประเมินต่ำสุด คือ ครูที่ปรึกษาได้ทำความรู้จักกับนักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก