หัวข้อวิจัย การสร้างชุดบทเรียนสำเร็จรูปสอนซ่อมเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ 5T เรื่องแคลคูลัสเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ
ผู้วิจัย นายธรรมศักดิ์ จันทวาส
ปีการศึกษา 2561
........................................................................................................
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อสร้างชุดบทเรียนสำเร็จรูปสอนซ่อมเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ 5T เรื่องแคลคูลัสเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดบทเรียนสำเร็จรูปสอนซ่อมเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ 5T เรื่องแคลคูลัสเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องแคลคูลัสเบื้องต้น ก่อนและหลังการใช้ชุดบทเรียนสำเร็จรูป สอนซ่อมเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ 5T นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ 4) เพื่อศึกษาความสนใจในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่อกิจกรรมการสอนโดยใช้ชุดบทเรียนสำเร็จรูปสอนซ่อมเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ 5T เรื่องแคลคูลัสเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ ก่อนและหลังการใช้บทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนเขาพังไกร ตำบลเขาพังไกร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องแคลคูลัสเบื้องต้น ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยมีเนื้อหาตามหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม คณิตศาสตร์เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จัดทำโดย สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อเรียนจบแต่ละหน่วย แล้วทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องแคลคูลัสเบื้องต้น ฉบับที่ 1 ของแต่ละหน่วยการเรียน แล้วได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 60 เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องแคลคูลัสเบื้องต้น โดยมีเนื้อหาตามหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม คณิตศาสตร์เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จัดทำโดย สสวท. กระทรวง ศึกษาธิการ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฉบับที่ 1 จำนวน 12 หน่วยการเรียน ที่มีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.24 -0.75 และค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.34 - 0.81 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับของแต่ละหน่วยการเรียนตั้งแต่ 0.88-0.96 3) ชุดบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อสอนซ่อมเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องแคลคูลัสเบื้องต้น จำนวน 12 หน่วยการเรียนรู้ 4) แผนการสอนซ่อมเสริมด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ 5T เรื่องแคลคูลัสเบื้องต้น 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฉบับที่ 2 จำนวน 12 หน่วยการเรียน ที่มีความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.24 - 0.75 และค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.30 - 0.86 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับของแต่ละหน่วยการเรียนตั้งแต่ 0.83 - 0.98 6) แบบวัดความสนใจในการเรียนของนักเรียน มีค่าอำนาจจำแนก (t) ตั้งแต่ 2.08 - 4.07 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ Z (Z-test for Population) และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. จำนวนนักเรียนที่ผ่านการสอนซ่อมเสริม คิดเป็นร้อยละ 97.14 มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จึงสรุปได้ด้วยความเชื่อมั่น 99 % มีเหตุผลเพียงพอที่จะกล่าวว่าชุดบทเรียนสำเร็จรูปสอนซ่อมเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องแคลคูลัสเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ มีประสิทธิภาพ
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องแคลคูลัสเบื้องต้น ทุกหน่วยการเรียน หลังการใช้ชุดบทเรียนสำเร็จรูปสอนซ่อมเสริมด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ 5T เรื่องแคลคูลัสเบื้องต้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความสนใจในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่อกิจกรรมการสอนโดยใช้ชุดบทเรียนสำเร็จรูปสอนซ่อมเสริมด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ 5T เรื่องแคลคูลัสเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ หลังการสอนซ่อมเสริมสูงกว่าก่อนสอนซ่อมเสริม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01