ชื่อเรื่อง รายงานการใช้หนังสือภาพประกอบภาษามือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนหูหนวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดอุดรธานี
ผู้ศึกษา นางสาวกรรณิการ์ บุญประเสริฐ
ปีที่พิมพ์ ปีการศึกษา 2562
หน่วยงาน โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดอุดรธานี
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสือภาพประกอบภาษามือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนหูหนวก ตามเกณฑ์ 80/80 2)เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านก่อนและหลังใช้หนังสือภาพประกอบภาษามือ 3) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผล ในการเรียนรู้ของนักเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือภาพประกอบภาษามือ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนหนวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดอุดรธานี จำนวน 13 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) หนังสือภาพประกอบภาษามือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนหูหนวก จำนวน 10 เรื่อง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถใน การอ่าน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือภาพประกอบภาษามือ จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. หนังสือภาพประกอบภาษามือเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนหูหนวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดอุดรธานี ที่พัฒนาขึ้นมีค่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. หนังสือภาพประกอบภาษามือเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านสำหรับนักเรียนหูหนวก ชั้นประถมศึกษาปีที่3 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดอุดรธานี ที่พัฒนาขึ้นมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.8553
3. นักเรียนหูหนวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดอุดรธานี มีความสามารถในการอ่าน สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสือภาพประกอบภาษามือเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนหูหนวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในในระดับมากที่สุด ( =4.69, S.D. = 0.17)
ชื่อเรื่อง รายงานการใช้หนังสือภาพประกอบภาษามือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนหูหนวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดอุดรธานี
ผู้ศึกษา นางสาวกรรณิการ์ บุญประเสริฐ
ปีที่พิมพ์ ปีการศึกษา 2562
หน่วยงาน โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดอุดรธานี
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสือภาพประกอบภาษามือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนหูหนวก ตามเกณฑ์ 80/80 2)เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านก่อนและหลังใช้หนังสือภาพประกอบภาษามือ 3) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผล ในการเรียนรู้ของนักเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือภาพประกอบภาษามือ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนหนวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดอุดรธานี จำนวน 13 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) หนังสือภาพประกอบภาษามือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนหูหนวก จำนวน 10 เรื่อง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถใน การอ่าน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือภาพประกอบภาษามือ จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. หนังสือภาพประกอบภาษามือเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนหูหนวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดอุดรธานี ที่พัฒนาขึ้นมีค่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. หนังสือภาพประกอบภาษามือเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านสำหรับนักเรียนหูหนวก ชั้นประถมศึกษาปีที่3 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดอุดรธานี ที่พัฒนาขึ้นมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.8553
3. นักเรียนหูหนวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดอุดรธานี มีความสามารถในการอ่าน สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสือภาพประกอบภาษามือเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนหูหนวก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในในระดับมากที่สุด ( =4.69, S.D. = 0.17)