ชื่อเรื่อง : รายงานผลการดำเนินงานโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านป่าซางงาม อำเภอดอยหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
ชื่อผู้รายงาน : ศศิพิมพ์ จันทร์อิฐ
ปีที่รายงาน : 2562
บทคัดย่อ
การประเมินผลโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านป่าซางงาม อำเภอดอยหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านป่าซางงาม ในปีการศึกษา 2562 โดยการประยุกต์ใช้ การดำเนินงานในรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของ Daniel L. Stufflebeam ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านสภาพบริบท (Context) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input)3) ด้านกระบวนการ(Process) และ 4) ด้านผลผลิต (Product) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 99 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 6 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 51 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 35 คน และกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ขอบเขตเนื้อหาด้านสภาพบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ ประกอบด้วยฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นการดำเนินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านป่าซางงาม อำเภอดอยหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 สำหรับครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นการดำเนินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านป่าซางงาม อำเภอดอยหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 สำหรับนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโดยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x̄) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการรายงานโครงการสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการรายงานโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านป่าซางงาม อำเภอดอยหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จากการตอบแบบสอบถามของครูผู้ปฏิบัติงานโครงการ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านป่าซางงาม จำนวน 13 คน สรุปผล โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ( x̄= 4.51, S.D = 0.51) และมีผลการดำเนินงานทั้ง 4 ด้าน พบว่า
1.1 ด้านสภาพบริบท (Context)
พบว่า มีผลการดำเนินงานด้านสภาพบริบท โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีระดับมากที่สุด ( x̄= 4.50, S.D = 0.49)
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
มีผลการดำเนินงานมีความเหมาะสม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.44, S.D = 0.56)
1.3 ด้านกระบวนการ (Process)
1) ผลการดำเนินงานด้านกระบวนการ มีความเหมาะสมของการเตรียมขั้นตอน การดำเนินงานของโครงการโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.39, S.D = 0.57)
2) ผลการดำเนินงานด้านกระบวนการ มีความเหมาะสมของขั้นสรุป ประเมินผลและการนำไปใช้ของโครงการโดยภาพรวม มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.55, S.D = 0.51)
1.4 ด้านผลผลิต (Product)
ผลการดำเนินงาน มีความเหมาะสมของการดำเนินงานโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านผลผลิต สรุปโดยภาพรวม พบว่ามีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.67, S.D = 0.44)
2. ผลการรายงานโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านป่าซางงาม อำเภอดอยหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จากการตอบแบบสอบถามของนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับการดำเนินงาน โครงการ พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.66, S.D = 0.42)