ชื่อผลงาน : การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียน
วัดท้ายทะเล
ผู้ประเมิน : นางศรัณยา เพ็งจันทร์
ปีที่ประเมิน : 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดท้ายทะเล มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดท้ายทะเล 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ ส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดท้ายทะเล 3) เพื่อประเมินกระบวนการ ( Process Evaluation) ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดท้ายทะเล 4) เพื่อประเมินผลผลิต ( Product Evaluation) ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดท้ายทะเล ในด้านต่าง ๆ (4.1) เพื่อประเมินด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน (4.2) เพื่อประเมินด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์(CIPP Model ) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการทั้งสิ้น 73 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียน จำนวน 31 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 31 คน ซึ่งการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการมี 5 ฉบับ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้แก่ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด จำนวน 5 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่1แบบประเมินด้านบริบทของโครงการ ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ฉบับที่ 3 แบบประเมินกระบวนการของโครงการ ฉบับที่ 4 แบบประเมินด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ฉบับที่ 5 แบบประเมินด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ เก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างโดยการดำเนินการตั้งแต่ก่อนเริ่มดำเนินโครงการ โดยการประเมินด้านบริบท และด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ การประเมินขณะดำเนินโครงการโดยการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ และการประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ โดยการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สรุปผลการประเมิน ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนส่วนใหญ่มีข้อบกพร่องในพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด ข้อที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กิจกรรมของโครงการมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับ เวลาและ สถานการณ์ของโลก สังคมในปัจจุบัน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่ ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบมีความรู้ ความเข้าใจมีความสามารถ และพร้อมที่จะดำเนินโครงการ ข้อที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีบุคลากรเพียงพอในการดำเนินโครงการ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่ ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของนักเรียนและชุมชน ข้อที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการประสานงานและสร้างความร่วมมือ
4.ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ ทั้ง2ด้านได้แก่ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน และด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน พบว่า มีผล
การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความซื่อสัตย์ สุจริต ด้านที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านมีจิตสาธารณะ
4.2 ผลการประเมินด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ พบว่า
มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด ข้อที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การประชาสัมพันธ์โครงการ