ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ของโรงเรียนบ้านควนสระ
ผู้ประเมินโครงการ นายโอม รัตนพันธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านควนสระ
หน่วยงานที่สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3
ปีการศึกษา 2562
บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน บ้านควนสระ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านควนสระ ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต
รูปแบบของการประเมินโครงการในครั้งนี้ ใช้รูปแบบจำลองแบบซิปป์ CIPP Model ของแดเนียล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) ซึ่งเป็นการประเมิน โครงการพัฒนา 4 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product)
ผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2562 ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านควนสระ จำนวน 23 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 45 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 172 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ในการประเมินเป็นแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (
) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งผลการประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านควนสระ สรุปได้ดังนี้
1. การประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้าน ควนสระ ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยใช้ รูปแบบจำลองแบบซิปป์ CIPP Model มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
2. ก่อนดำเนินงานพัฒนา ครู บุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโดยภาพรวม และรายด้าน 2 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านปัจจัยนำเข้า เหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนอีก 2 ด้าน คือ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. หลังดำเนินงานพัฒนา การประเมินผลผลิตด้านความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน สรุปได้ว่าบุคลากรมีความ พึงพอใจต่อการพัฒนาอาคารสถานที่ การพัฒนาสภาพแวดล้อม การบริหารจัดการ และคุณลักษณะของ นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
4. การประเมินผลผลิตด้านความพึงพอใจของผู้ปกครอง สรุปได้ว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจ ต่อการพัฒนาอาคารสถานที่ การพัฒนาสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์กับชุมชน และคุณลักษณะของ นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
5. การประเมินผลผลิตด้านความพึงพอใจของนักเรียน สรุปได้ว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อ การพัฒนาอาคารสถานที่ การพัฒนาสภาพแวดล้อม การจัดกิจกรรมเสริมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และการใช้ห้องปฏิบัติการ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
ข้อเสนอแนะ
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนารายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. โรงเรียนอื่น ๆ ที่มีขนาดและบริบทหรือสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับโรงเรียนบ้านควนสระ ควรนำรูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู เพราะจะทำให้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น
3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานอื่น ๆ ได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน และเผยแพร่ อย่างกว้างขวาง
4. ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนกับผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
5. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู สู่คุณภาพผู้เรียน