การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะ
การจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ ๑) ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ และแนวทางการนิเทศ ๒) พัฒนารูปแบบการนิเทศ ๓) ทดลองและขยายผลสู่การปฏิบัติจริง การใช้รูปแบบการนิเทศและ ๔) ประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น4 ระยะคือ ระยะที่ 1 ๑) ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ และแนวทางการนิเทศ กลุ่มตัวอย่าง ครูภาษาไทย จำนวน 196 คน ผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 12 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการนิเทศ กลุ่มเป้าหมาย หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 35 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 คน ระยะที่ 3 การทดลองและขยายผลสู่การปฏิบัติการใช้รูปแบบ การนิเทศ กลุ่มเป้าหมายทดลอง ได้แก่ผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศ จำนวน 41 คน และนักเรียน จำนวน 225 คน กลุ่มเป้าหมายขยายผล ได้แก่ ผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศ จำนวน 71 คน และนักเรียน จำนวน 240 คน ระยะที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศ กลุ่มเป้าหมาย ทดลอง ได้แก่ผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศ จำนวน 71 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 175 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผลศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ และแนวทางการนิเทศ พบว่า สภาพปัญหา
การนิเทศโดยรวมมีสภาพปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการการนิเทศ พบว่า ต้องการให้ผู้นิเทศสร้างขวัญกำลังใจโดยการให้ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอน และเทคนิควิธีการสอนรูปแบบใหม่ ๆ ที่ให้ผู้รับการนิเทศเกิดความพร้อมในการรับการนิเทศ สำหรับแนวทางการนิเทศ ควรมีการศึกษาปัญหาและความต้องการด้านการนิเทศ ควรมีการระบุปัญหาสำคัญและความต้องการนิเทศของครูควรมีการจัดสนทนาทางวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องน่าสนใจ
2. ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการนิเทศ พบว่า รูปแบบการนิเทศแบบเสริม
พลัง เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ประกอบด้วย กระบวนการนิเทศแบบเสริมพลัง ที่เรียกว่า SPIDER ได้แก่ ขั้นตอนที่ ๑ การสำรวจสภาพปัญหา (Survey) ขั้นตอนที่ ๒ การวางแผนการนิเทศ (Plan) ขั้นตอนที่ ๓ การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Informing) ขั้นตอนที่ ๔ การปฏิบัติการนิเทศ (Do) ขั้นตอนที่ ๕ การประเมินผลการนิเทศ (Evaluation) และขั้นตอนที่ ๖ การสร้างขวัญกำลังใจ (Reinforcing)
3. ผลการทดลองและขยายผลสู่การปฏิบัติจริงการใช้รูปแบบการนิเทศแบบเสริมพลัง
เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้พบว่า ผู้นิเทศมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะการนิเทศการสอนหลังได้รับการนิเทศแบบเสริมพลังสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศแบบเสริมพลัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูผู้รับการนิเทศ มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะการจัดการเรียนรู้หลังได้รับการนิเทศแบบเสริมพลังสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศแบบเสริมพลัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด นอกจากนี้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3 มีความรู้และมีทักษะในการใช้ภาษาด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ภาษาไทยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศ พบว่า จากผลการประเมินการใช้รูปแบบ
การนิเทศแบบเสริมพลัง เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 โดยรวม มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบเสริมพลัง เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 โดยรวมอยู่ในระดับความคิดเห็นมากที่สุด