การอ่านถือเป็นวาระแห่งชาติของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้คนไทยได้เรียนรู้โดยการที่เป็นหลักใจความของหัวใจนักปราชญ์อีกข้อหนึ่งที่จะเป็นกระบวนการเรียนรู้ คือคนเราจำมีความรู้ได้จะต้องอ่านให้มากดัง หลักของพหุสูตรว่า สุ (สุตวา) คือ การฟัง จิ (จิตต) คือ การคิด ปุ (ปุจฉา) คือการถามหรือการอ่าน ลิ (ลิขิต) คือ การเขียน ดังนั้น เราต้องฟังให้มาก คิดให้แยบยล อ่านให้มาก ไม่เข้าใจก็ถาม เมื่อรู้แล้วกลัวลืมก็เขียนหรือจดบันทึก เป็นต้น
เพราะฉะนั้น ผู้วิจัยจึงได้เห็นความสำคัญของภาษาไทย โดยเริ่มที่นักเรียนเป็นกลุ่มเป้าหมายแรก ให้อ่านออกเขียนได้ และถือได้ว่าการอ่านเป็นวาระแห่งชาติของประเทศไทย ที่จะพัฒนาคน พัฒนาชาติ เพื่อพัฒนาให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถอ่านออกเขียนได้ จึงได้จัดกิจกรรมบันทึกรักการอ่านสอดแทรกในการจัดการเรียนรู้ ในการพัฒนาผู้เรียนต่อไป
2. วัตถุประสงค์การวิจัย
2.1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือ
2.2 เพื่อแก้ปัญหาความเบื่อหน่ายในการอ่าน
3. วิธีดำเนินการวิจัย
3.1 ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสารวิทยา จำนวน 244 คน
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- แบบบันทึกการอ่าน
- แบบสอบถามเกี่ยวกับกิจกรรมบันทึกรักการอ่าน
3.3 ระยะเวลาในการดำเนินงาน
มิถุนายน 2563 - ธันวาคม 2563
3.4 ขั้นตอนการวิจัย
วิธีดำเนินงาน
ขั้นที่ 1 เตรียมการ
1.1 ศึกษาสภาพปัญหาและรวบรวมข้อมูล/ปัญหาการอ่านของนักเรียน
1.2 จัดทำโครงการ/เขียนเค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน
1.3 ออกแบบและสร้างแบบสอบถามที่จะใช้ในงานวิจัย
ขั้นที่ 2 กิจกรรมรักการอ่าน
1.1 แบบสอบถามเกี่ยวกับกิจกรรมบันทึกรักการอ่าน
1.2 ให้ผู้เรียนอ่านหนังสือตามประเภทที่ชอบ
1.3 นำเสนอหน้าชั้นเรียนในเรื่องที่อ่านตามความสนใจ
ขั้นที่ 3 การประเมิน
1.1 การสังเกต
1.2 สมุดบันทึกรักการอ่านของนักเรียนรายบุคคล
3.5 ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูล
- วิเคราะห์ผลจากคะแนนที่ได้จากการทำสมุดบันทึกรักการอ่านของนักเรียนรายบุคคล
- แบบสอบถามเกี่ยวกับกิจกรรมบันทึกรักการอ่าน ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การหาค่าร้อยละ
ค่าร้อยละ = X x 100
N
เมื่อ X = คะแนนที่ได้
N = จำนวนนักเรียนทั้งหมด
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากการศึกษาวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสารวิทยา ในเรื่องการอ่าน เพื่อนำผลการวิจัยมาเก็บเป็นข้อมูลเพื่อหาสาเหตุ และนำไปแก้ไขปัญหาในการเรียนการสอนและเพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการอ่าน โดยใช้แบบสอบถามเพื่อศึกษาพฤติกรรมจำนวน 10 ข้อ โดยกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสารวิทยา จำนวน 244 คน โดยสามารถวิเคราะห์ผลได้ดังนี้