บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านเบญจา
ชื่อผู้ประเมิน : นายธนภัทร ซ้วนลิ่ม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเบญจา อำเภอพนม
จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2563
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) โครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านเบญจา
2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) โครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านเบญจา
3. เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) โครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านเบญจา
4. เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) โครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านเบญจา ได้แก่
4.1 ความสามารถในการอ่านออก เขียนได้
4.2 คุณภาพของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
4.3 ผลการทดสอบความสามารถในการอ่าน (Reading Test : RT) ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563
4.4 ผลการประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563
4.5 การมีส่วนร่วมในโครงการ และความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลพลูเถื่อน
4.6 ความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
และผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลพลูเถื่อน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านเบญจา
4.7 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาการอ่านออก
เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านเบญจา
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 จำนวน 9 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านเบญจา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 6 คน ผู้ปกครอง จำนวน 18 คน ได้มาโดยการคัดเลือกตัวแทนผู้ปกครอง ห้องเรียนละ 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน และผู้แทนครู จำนวน 1 คน) ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลพลูเถื่อน จำนวน 7 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 จำนวน 16 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านสภาพแวดล้อมหรือบริบท(Context) จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการ(Process) จำนวน 17 ข้อ ฉบับที่ 4 แบบประเมินด้านผลผลิต (Process)
ได้แก่ ฉบับที่ 4.1 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับปริมาณและคุณภาพ ความสามารถในการอ่านออก เขียนได้ ปีการศึกษา 2563 ฉบับที่ 4.2 แบบบันทึกผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 ปีการศึกษา 2563 ฉบับที่ 4.3 แบบบันทึกผลการประเมินผลการทดสอบความสามารถในการอ่าน (Reading Test : RT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ฉบับที่ 4.4 แบบบันทึกผลการประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 ฉบับที่ 4.5 แบบประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในโครงการจำนวน 20 ข้อ ฉบับที่ 4.6 แบบประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านเบญจา ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลพลูเถื่อน จำนวน 10 ข้อ และฉบับที่ 4.7 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมหรือบริบท(Context) โครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านเบญจา ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 ผ่านเกณฑ์การประเมินซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านเบญจา ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ครูและบุคลากรทางการศึกษา
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.56 ผ่านเกณฑ์การประเมินซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) โครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านเบญจา ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทาง การศึกษา ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลพลูเถื่อน พบว่า ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 ผ่านเกณฑ์การประเมินซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลการประเมินโครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านเบญจา ในด้านผลผลิต ซึ่งประกอบด้วย 7 ประเด็น ในด้านผลผลิต ได้แก่
4.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 43 คน ที่เข้าร่วมโครงการมีความสามารถในการอ่านออก เขียนได้ในระดับดี จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 83.72 และระดับพอใช้ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 16.28 โดยไม่มีนักเรียนที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับปรับปรุง ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ในระดับดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.00 ขึ้นไป
4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 43 คน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.60 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดค่าเฉลี่ยไว้ไม่น้อยกว่า 3.00 ขึ้นไป
4.3 ผลการทดสอบความสามารถในการอ่าน(Reading Test : RT) ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยทั้ง 2 ด้าน เท่ากับร้อยละ 78.00 ผ่านเกณฑ์ การประเมินที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ขึ้นไป โดยในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงกว่า ปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 11.62
4.4 ผลการประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยทั้ง 2 ด้าน เท่ากับ 56.15 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป และสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับชาติที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 43.97 ไม่น้อยกว่า 3.00 ขึ้นไป โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2562 เฉลี่ยร้อยละ 16.96 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
4.5 ผลการประเมินการมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านเบญจา ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง คณะ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลพลูเถื่อน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 ผ่านเกณฑ์การประเมินซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.6 ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลพลูเถื่อน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนา การอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านเบญจา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.56 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 ผ่านเกณฑ์การประเมินซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.7 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนา การอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านเบญจา ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 ผ่านเกณฑ์การประเมินซึ่งกำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป