การรายงานการประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนวัดปากบ่อ(เหลืองราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาครและเพื่อหาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานโครงการ ให้มีการดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดปากบ่อ(เหลืองราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ประกอบด้วย ครู จำนวน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 109 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ แบบประเมินโครงการสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนวัดปากบ่อ(เหลืองราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น
การเก็บรวมรวมข้อมูล ผู้ประเมินได้ มอบหมายงานให้ คณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกัน แจกแบบประเมินกิจกรรมหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมให้จนครบตามเกณฑ์ที่กำหนด
การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินวิเคราะห์ได้ผลการประเมินออกเป็น 3 ด้าน 1 คือ ด้านปัจจัยนำเข้าโครงการ (I : Input Evaluation) ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ (P : Process Evaluation) ด้านผลผลิตโครงการ(O : Output Evaluation) โดยใช้ค่าสถิติ ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ใช้ค่าเฉลี่ย (μ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( σ) และแปลความหมายค่าเฉลี่ย(บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 103)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลประเมินโครงการสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนวัดปากบ่อ (เหลืองราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลประเมินโครงการสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนวัดปากบ่อ (เหลืองราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ด้านปัจจัยนำเข้าโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. ผลประเมินโครงการสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนวัดปากบ่อ (เหลืองราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4. ผลประเมินโครงการสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนวัดปากบ่อ (เหลืองราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ด้านผลผลิตโครงการ โดยแบ่งออกเป็นด้านความรู้ความเข้าใจของนักเรียนและด้านพฤติกรรมของนักเรียน ทั้ง 2 ด้าน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก