ผู้ศึกษา ศรีเรือน นารีเลิศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
รายงานการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้าง และพัฒนาแบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยแบบฝึกเพื่อพัฒนา และเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสตรีทุ่งสง ห้อง 3/5 จำนวนนักเรียน 30 คนได้มาโดยการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เนื่องจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกห้องเป็นนักเรียนที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน จัดชั้นเรียนโดยคละนักเรียนที่มีความสามารถทั้งเก่ง ปานกลางและอ่อน ระยะเวลาในการทดลอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 22 ชั่วโมง ไม่รวมเวลาทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 ถึง วันที่ 2 กรกฎาคม 2562 จัดการเรียนการสอน ครั้งละ 1 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มี 3 ชนิด คือ 1) แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบมี 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 อันดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent Samples) พบว่า
1. การใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.80/83.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D.= 0.52)
คำสำคัญ แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิด
ทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562 ได้กล่าวถึงการพัฒนาผู้เรียนนอกเหนือจากความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา และความรู้แล้วยังเน้นให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนค่านิยมที่พึงประสงค์ การเน้นให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์นั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ได้กำหนดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะดังกล่าว โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นสาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม มาตรฐาน ส 1.1รู้และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มาตรฐาน ส 1.2 เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ จากมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง 2 มาตรฐาน จะเห็นได้ว่าเป็นการเน้นการเรียนการสอน เรื่องพระพุทธศาสนา
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ที่ระบุไว้ในมาตราที่ 6 ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579) จะเห็นได้ว่ามีการเน้นให้คนไทยหรือผู้เรียน นอกจากจะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ แล้ว ยังเน้นความสมบูรณ์ทางจิตใจ การมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมนุษย์จะสมบูรณ์ได้นั้น จะต้องสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ และได้ระบุไว้ในจุดหมายของหลักสูตร ข้อที่ 1 ว่า มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัย และปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงศึกษาธิการ (2560)
ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 พ.ศ.2579) ให้ความสำคัญกับการวางรากฐาน การพัฒนาคนให้ความสมบูรณ์เริ่มตั้งแต่กลุ่มเด็กปฐมวัยที่ต้องพัฒนาให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี มีทักษะทางสมอง ทักษะการเรียนรู้ และทักษะชีวิต เพื่อให้เติบโตอย่างมีคุณภาพควบคู่กับการพัฒนาคนไทยในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี มีสุขภาวะที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย มีจิตสานึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม มีทักษะความรู้ และความสามารถปรับตัวเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ที่รวดเร็ว บนพื้นฐานของการมีสถาบันทางสังคมที่เข้มแข็งทั้งสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันชุมชน และภาคเอกชนที่ร่วมกันพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีคุณภาพสูง อีกทั้งยังเป็นทุนทางสังคมสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ซึ่งครูจะต้องคอยสนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะชีวิต และทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560-2579จากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ รวมทั้งใน หลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง 2560 ได้กำหนดไว้ในหมวดว่าด้วยการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยยึดหลักว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ยึดประโยชน์ ที่เกิดกับผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็ม ตามศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เน้นให้ความสำคัญ ทั้งความรู้และคุณธรรม และในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ได้กำหนดเป้าหมายรวมการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 12 ว่าคนไทยมีคุณลักษณะเป็นคนไทยที่สมบูรณ์มีวินัย มีทัศนคติและพฤติกรรมตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม มีความเป็นพลเมืองตื่นรู้มีความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรู้เท่าทันสถานการณ์ มีความรับผิดชอบและทำประโยชน์ต่อส่วนรวม มีสุขภาพกายและใจที่ดีมีความเจริญงอกงามทางจิตวิญญาณมีวิถีชีวิตที่พอเพียงและมีความเป็นไทย (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชำติ ฉบับที่ 12. 2560 2564)
ผู้ศึกษา ทำการสอน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นวัยรุ่นอายุ 15 ปี ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ มีความอ่อนไหวทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก ค่อนข้างมาก วัยรุ่นส่วนใหญ่พอใจและยอมรับในการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็สนใจดูแลตนเอง ดูแลรูปร่าง หน้าตาให้ดูสวยงาม ชอบแต่งตัวแปลกๆ เพื่อสร้างความสนใจและให้ได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน และผู้พบเห็น ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับเพื่อน ทำกิจกรรมกับกลุ่มเพื่อนที่สนิท ขณะเดียวกันก็เป็นช่วงวัยที่มีความขัดแย้งกับครู ผู้ปกครอง พ่อแม่ มากที่สุด เนื่องจากต้องการเป็นอิสระ และเป็นตัวของตัวเอง ฝ่าฝืนกฎระเบียบ กติกาต่างๆ ไม่ชอบให้ใครมาบังคับหรือสั่งการ เด็กเริ่มเรียนรู้สังคมภายนอกครอบครัวมากขึ้น (วิโรจน์ อารีย์กุล วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า.สาขาเวชศาสตร์วัยรุ่น) มักจะเชื่อ รับรู้ โต้ตอบ ข้อมูลข่าวสาร ในสื่อออนไลน์ โดยมิได้ไตร่ตรอง จนนำไปสู่ความขัดแย้งในวงกว้าง ซึ่งเกิดการความคิดในขณะนั้น ที่เข้าใจว่าคิดถูกต้องแล้วจึงทำ จะเห็นได้ว่าความคิดเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะเป็นจุดเริ่มต้น ของชีวิต พฤติกรรมที่แสดงออกทางคำพูดและการกระทำ ไม่ว่าดีหรือชั่วล้วนมาจากความคิดเบื้องต้นทั้งสิ้น ซึ่งสอดคล้องกับสำนวนที่ว่า ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว หรือทางพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบไว้ว่า สิ่งทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าใจดีหรือชั่ว การกระทำย่อมดีหรือชั่วไปด้วย การรู้จักคิดหรือคิดเป็น เป็นศูนย์กลางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องเพราะเมื่อคิดเป็นแล้วก็ช่วยให้พูดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น การคิดเป็น ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า โยนิโสมนสิการ มีหลายวิธีแต่สรุปเป็น 4 ลักษณะใหญ่ๆ คือ 1) คิดถูกทาง 2) คิดถูกวิธี 3) คิดมีเหตุผล 4) คิดเกิดกุศล ซึ่งเป็นการคิดที่ถูกวิธีมุ่งไปสู่เป้าหมาย พระพุทธเจ้าตรัสว่า การศึกษาเริ่มต้นที่ รู้จักคิด หรือ คิดให้เป็น คิดให้ถูก พระองค์เรียกตามศัพท์ศาสนาว่า โยนิโสมนสิการ แปลว่า คิดแยกแยะวิเคราะห์เหตุผล สืบสาวสอบสวนต้นเหตุ ปลายเหตุ จนแจ่มกระจ่าง เสฐียรพงษ์ วรรณปก (2541)
ผู้ศึกษาเห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญสอดคล้องกัน จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข และเป็นบทบาทหน้าที่โดยตรงของครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ต้องพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุจุดหมายของสาระการเรียนรู้นี้ และเพื่อให้การประกันคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานและเป้าหมายในประกาศของโรงเรียนสตรีทุ่งสง ควรเริ่มจากสอนให้ผู้เรียนคิดเป็น คิดได้ คิดจากความรู้สึกของตนเอง อาศัยประสบการณ์ด้านคุณธรรม จริยธรรมจากตัวอย่าง รูปแบบ ตลอดจนการเรียนรู้จากข้อมูลร่วมสมัยรอบตัว การสอนแนวพุทธวิธี เป็นวิธีที่ผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากพระบรมศาสดา ถือเป็นพระบรมครู มีหลักการสอนปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก หลายแนว ที่นำมาประยุกต์ให้เข้ากับสมัยนิยมได้ เช่น วิธีสอนแบบไตรสิกขา วิธีสอนแบบปุจฉา วิธีสอนแบบอริยสัจสี่ แม้กระทั่งวิธีสอนแบบโยนิโสนิมนสิการ (สิริวรรณ ศรีพหล. 2552)
โยนิโสมนสิการ ที่โบราณแปลสืบมาว่า ทำในใจโดยแยบคาย หรือมนสิการโดยแยบคาย หรือแปลง่ายๆว่า คิดแยบคาย เป็นการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี หรือคิดอย่างมีวิธี เมื่อเปรียบเทียบ ในกระบวนพัฒนาปัญญาโยนิโสมนสิการอยู่ในระดับเหนือศรัทธา เพราะเป็นขั้นที่เริ่มใช้ความคิด ของตนเองเป็นอิสระ ส่วนในระบบการศึกษาอบรม โยนิโสมนสิการ เป็นการฝึกความคิดให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี อย่างมีระเบียบ รู้จักคิดวิเคราะห์ ไม่มองสิ่งต่างๆ อย่างตื้นๆ ผิวเผิน เป็นขั้นสำคัญในการสร้างปัญญาที่บริสุทธิ์ เป็นอิสระ ทำให้พึ่งตนเองได้ และนำไปสู่จุดหมายของพุทธธรรมอย่างแท้จริง พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) .(2556)
การจัดการเรียนการสอน สาระพระพุทธศาสนานั้น สุมนต์ อมรวิวัฒน์ (2530 :90) ให้ความเห็นว่า ถ้าพิจารณาวิธีสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล จะพบว่า เป็นการสอน ที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ดังนั้น การนำพุทธวิธีของพระพุทธองค์มาประยุกต์ใช้ในการเรียน การสอน เพื่อปลูกฝังความเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เยาวชนของประเทศ จึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ
สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยแบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. แบบฝึก หมายถึง สื่อที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น เพื่อให้นักเรียนฝึกฝน เพิ่มทักษะภายหลังจากที่นักเรียนได้เรียนเนื้อหาจากบทเรียนปกติแล้ว แบบฝึกจะทำให้ผู้เรียน มีความเข้าใจ มีความรู้ความสามารถและเกิดทักษะความชำนาญมากขึ้น เป็นเครื่องมือสำคัญที่ครูนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
2. การพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทักษะการคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ไปในทางที่ดีขึ้น เพิ่มพูนทักษะการคิดที่ดีอยู่แล้วให้มั่นคงยิ่งขึ้น โดยใช้หลักโยนิโสมนสิการ คือ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย หรือการคิดถูกต้องตามความเป็นจริง การพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน มีสติปัญญาเป็นตัวกำกับ ทำให้นักเรียนสามารถคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และวิเคราะห์ได้อย่างถูกวิธี มีระบบ มีระเบียบต่อเนื่องจากเหตุสู่ผล เชื่อมโยงกันภายใต้พื้นฐานของคุณธรรมที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ การแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม มีเหตุผล และสร้างสรรค์ มี 10 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คือ การพิจารณาปรากฏการณ์หรือปัญหาที่เป็นผลจากสภาวะที่เห็นจริงด้วยความต่อเนื่องของเรื่องราวที่เกิดขึ้น ด้วยการลำดับเหตุการณ์และผลกระทบเพื่อหาหนทางแก้ไข ด้วยการค้นหาสาเหตุ และปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์ส่งผลสืบทอดกันมา ในลักษณะปัจจัยสัมพันธ์และแบบสอบสวนโดยการตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบ
วิธีที่ 2 วิธีคิดแบบแยกส่วน คือ การคิดวิเคราะห์ที่แยกเป็นส่วน ๆ ขององค์ประกอบในประเด็นหลักก่อนที่จะนำมาบูรณาการเป็นองค์รวม โดยต้องแยกแยะออกมาเป็นองค์ประกอบ ย่อย ๆ ได้ กระบวนการคิดแบบนี้ ได้แก่ การแตกประเด็นย่อย การจัดหมวดหมู่ การวิเคราะห์ในแต่ละประเด็น การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของประเด็นย่อย และหมวดหมู่ และการสรุปประเด็นปัญหาเหตุและผล และแนวทางแก้ไข
วิธีที่ 3 วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ คือ กระบวนการคิดให้รู้ และเข้าใจในความธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง ว่าสิ่งเหล่านั้นย่อมมีขึ้นสูงสุด และต่ำลง สิ่งเหล่านั้นย่อมมีการตั้งอยู่ และดับไป
วิธีที่ 4 วิธีคิดแบบอริยสัจ คือ การคิดแบบแก้ปัญหาที่เริ่มจากเหตุแห่งปัญหา หรือทุกข์ มีลักษณะทั่วไป 2 ประการ ได้แก่ วิธีคิดตามเหตุและผล และวิธีคิดที่ตรงจุดตรง เรื่อง ตรงไปตรงมา
วิธีที่ 5 วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ คือ การคิดตามหลักการและจุดมุ่งหมาย คือ กระบวนการคิดที่พิจารณาวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างหลักการกับจุดมุ่งหมาย ซึ่งกระบวนการคิดที่พิจารณาถึงหลักการกับจุดมุ่งหมาย จะช่วยให้เราสามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง และทำให้เกิดผลต่อเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีที่ 6 วิธีคิดแบบพิจารณาคุณโทษ และหาทางออก คือ การคิดพิจารณาในเหตุบนทุกแง่มุม และยอมรับความจริงว่าทุกสิ่งในโลกมีทั้งคุณ - โทษ ข้อดี - ข้อเสีย จุดอ่อน - จุดแข็ง และสามารถหาทางออกหรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยการปฏิบัติมรรควิธีที่ถูกต้อง
วิธีที่ 7 วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม คือ การคิดพิจารณาเกี่ยวกับ การกระทำสิ่งต่าง ๆ ในการใช้สอยหรือบริโภคหรือคุณค่าในการใช้งานในชีวิตประจำวัน การพิจารณาว่าสิ่งใดที่มีคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม จะใช้กิเลส และตัณหาเป็นเกณฑ์พิจารณา คือ ถ้าสิ่งใดที่ทำ เพื่อประโยชน์สุขทั้งของตนเอง และผู้อื่นโดยปราศจากกิเลส และตัณหาเป็นตัวนำ สิ่งนั้นว่าเป็นคุณค่าแท้ แต่ถ้าสิ่งใดทำเพื่อตอบสนองกิเลส และตัณหาเป็นตัวนำ สิ่งนั้นถือว่าเป็นคุณค่าเทียม
วิธีที่ 8 วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม คือ วิธีคิดที่ช่วยให้เกิดบวนการความคิดบนพื้นฐานของคุณธรรม โดยการกำหนดจิตให้ระลึกอยู่ในสิ่งที่กระทำหรือที่เรียกว่า สติ
วิธีที่ 9 วิธีคิดแบบอยู่กับปัจจุบัน คือ วิธีคิดที่ให้จิตจดจ่อหรือตั้งมั่นในสิ่งที่กระทำ ในปัจจุบัน ด้วยการคิดที่มีสมาธิ จิตไม่วอกแวก ไม่นำเรื่องอื่นมาคิดให้กระวนกระวายใจ
วิธีที่ 10 วิธีคิดแบบวิภัชชวาท คือ วิธีคิดแบบการมองความจริงในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่มองหรือคิดวิธีเฉพาะแง่ใดแง่หนึ่ง
3. ประสิทธิภาพของสื่อ หมายถึง แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการสาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 3 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
80 ตัวแรก หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด ที่ได้จากการทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยแบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
80 ตัวหลัง หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ความสามารถของนักเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้เนื้อหา ที่ทดลองสอนโดยพิจารณาจากคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้นซึ่งสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
5. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ข้อสอบที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
6. ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกชอบหรือพอใจที่มีต่อการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนา และเสริมสร้างทักษะคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
7. แบบสอบถามความพึงพอใจ หมายถึง เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูล สอบถาม ความคิดเห็นของนักเรียนหลังจากที่ได้เรียนด้วยกระบวนการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ไปแล้วโดยแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ
วิธีดำเนินการศึกษา
ในการวิจัย เรื่อง การใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะคิดแบบโยนิโสมนสิการ
สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 3 ในครั้งนี้ ผู้ศึกษากำหนดวิธีดำเนินการศึกษาตามลำดับ ดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา
1. กลุ่มเป้าหมาย
1.1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสตรีทุ่งสง จำนวน 5 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 186 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสตรีทุ่งสง ห้อง 3/5 จำนวนนักเรียน 30 คนได้มาโดยการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เนื่องจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกห้องเป็นนักเรียนที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน จัดชั้นเรียนโดยคละนักเรียนที่มีความสามารถทั้งเก่ง ปานกลาง
และอ่อน
2. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
2.1 ตัวแปรต้น คือ แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ
สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2.2 ตัวแปรตาม คือ
2.2.1 ประสิทธิภาพของแบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2.2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกเพื่อพัฒนา และเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2.2.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเพื่อพัฒนา และเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
2.1 แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 เล่ม ดังนี้
เล่มที่ 1 เรื่อง การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
เล่มที่ 2 เรื่อง พุทธบริษัท 4 และชาดก
เล่มที่ 3 เรื่อง หลักธรรมในพระพุทธศาสนา
เล่มที่ 4 เรื่อง สัมมนาพระพุทธศาสนากับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เล่มที่ 5 เรื่อง หน้าที่ชาวพุทธ
2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรมในรายวิชาสังคมศึกษา 5 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2.3 การสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
4. แบบแผนการทดลอง
การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบแผนการทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง ( One Group Pretest Posttest Design )
5. การดำเนินการศึกษา
การดำเนินการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ดำเนินการทดลองตามขั้นตอนดังนี้
5.1 กำหนดวันและเวลาการทดลองตามแผนการจัดการเรียนรู้ ระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2562 โดยปฏิบัติกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 22 แผน เวลา 22 ชั่วโมง (จัดการเรียนการสอนคาบละ 1 ชั่วโมง) ไม่นับรวมการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
5.2 ทดสอบก่อนเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน 30 ข้อ
5.3 ดำเนินกิจกรรมการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 22 โดยทดสอบก่อนเรียนแล้วดำเนินการสอน ตามกำหนดการสอนที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งเก็บข้อมูลจากการสังเกตพฤติกรรม และทดสอบหลังเรียนในแต่ละแผนการเรียนรู้ ด้วยแบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 3 แต่ละชุด พร้อมทั้งบันทึกและหาค่าสถิติ
5.4 หลังจากจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครบถ้วนตามแผนแล้ว ให้กลุ่มตัวอย่างทดสอบหลังเรียน โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชุดเดิมกับที่ใช้ทดสอบก่อนเรียน
5.5 ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 3
5.6 รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้
6. การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้ศึกษาได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอน ดังนี้
6.1 วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 มีรายละเอียด ดังนี้
80 ตัวแรก หมายถึง คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคนที่ได้จากทำแบบทดสอบหลังเรียนของการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 3 ทั้ง 5 ชุด ได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 80 ขึ้นไป
80 ตัวหลัง หมายถึง คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคนที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 80 ขึ้นไป
6.2 วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 3 ซึ่งวัดได้จากคะแนนของนักเรียนทั้งหมด จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t test)
6.3 วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนา และเสริมสร้างทักษะคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี 3 ใช้ค่าเฉลี่ย ( )
สรุปและอภิปรายผล
ผลของการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 3 ผู้ศึกษาได้นำเสนอข้อมูลตามลำดับดังต่อไปนี้
ตอนที่ 1 วิเคราะห์ประสิทธิภาพของการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 3 ตามเกณฑ์ 80/80
ตอนที่ 2 วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 3 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ตอนที่ 3 วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการใช้ แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 3 พบว่านักเรียน มีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 3 อยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D.= 0.52) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการพัฒนาแบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 3 เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้สนุกและน่าสนใจทุกครั้งอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58,S.D.= 0.51) ส่วนด้านบรรยากาศและด้านประโยชน์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D.= 0.52, = 4.44, S.D.= 0.55)
สรุปผลการศึกษา
1. การใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.80/83.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในอยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D.= 0.52)
อภิปรายผลการศึกษา
จากการศึกษาการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้ศึกษาอภิปรายผลได้ ดังนี้
1. แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.80/83.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องมาจากแบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 3 ที่ผู้ศึกษาสร้างและพัฒนาขึ้นนั้นได้สร้างขึ้นตามขั้นตอนต่างๆ และดำเนินการอย่างเป็นระบบเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้รวมทั้งศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ที่มีผู้วิจัยหลายต่อหลายท่านได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการจัดการเรียนโดยบูรณาการกับวิธีการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มอย่างมีเหตุผล ส่งผลให้เกิดการพัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบ คิดถูกวิธีคิดในแนวทางที่เป็นกุศล เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม และนำวิธีการคิดที่ถูกต้องไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) (2552 : 675-715) ที่กล่าวว่าการคิดตามหลักโยนิโสมนสิการกระบวนการพัฒนาทางปัญญาที่สูงสุดสำหรับผู้นับถือพระพุทธศาสนา ด้วยวิธีคิดแบบนี้ทำให้บุคคลเข้าใจสภาพของชีวิต สภาพของสังคม และสภาพของโลก สามารถจัดระเบียบชีวิตของตนเองจัดระบบของสังคมและสภาพแวดล้อมทั้งหลายได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ แม้การใช้อาจจะไม่ครบทุกวิธีทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของปัญหาจึงควรพิจารณาเลือกวิธีคิด แต่ละแบบใช้ให้เหมาะสมก็จะทำให้มนุษย์มีชีวิตร่วมกับสรรพสิ่งทั้งหลายได้อย่างถูกต้อง และสร้างสรรค์ สอดคล้องกับผลการวิจัยของ ทิศนา แขมมณี (2558) ได้ศึกษา เรื่อง วิธีการจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการของศาสตราจารย์สุมน อมรวิวัฒน์ มาเขียนไว้ในหนังสือศาสตร์การสอนว่า วิธีการจัดการเรียนรู้ที่ดีต้องเกิดจากการวางรูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ ส่งผลให้ผู้เรียนจะได้รับจากการการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ คือ ผู้เรียนจะพัฒนาทักษะทางการคิด การตัดสินใจ และการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม ตลอดจนนำความรู้และความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข ผลการวิจัย พบว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.80/83.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 สอดคล้องกับผลการวิจัยของ พระวิชพล รัชตนุภาพ (2556) ได้ศึกษา เรื่อง การใช้วิธีสอนแบบโยนิโสมนสิการ เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้และการคิดอรรถธรรมสัมพันธ์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านต้นผึ่ง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลบรรพตพิสัย (วัดส้มเสี้ยว) จำนวน 72 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบโยนิโสมนสิการในเรื่องสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม เพื่อพัฒนาการคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์จำนวน 7 แผน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน คือ ชั้นสร้างศรัทธา ชั้นพิจารณาปัญหา ชั้นความคิดอรรถธรรมสัมพันธ์ และขั้นการประยุกต์ใช้ซึ่งทุกแผนมีความสอดคล้องกับเนื้อหา จุดประสงค์ของการวิจัยตลอดจนการดำเนินกิจกรรมโดยมีค่าเฉลี่ยดัชนีความสอดคล้อง (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เท่ากับ 0.92 2. ศึกษาการคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านต้นผึ้ง โดยการใช้เกณฑ์ระดับคุณภาพการประเมินของ O-NET พบว่าคะแนน การทำแบบทดสอบ ของผู้เรียนครั้งแรกเฉลี่ยร้อยละ 48.33 อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนคะแนนการทำแบบทดสอบของผู้เรียนครั้งหลังเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 70.50 อยู่ในระดับดีมาก คะแนน การทำแบบทดสอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.17 ของการทำแบบทดสอบในครั้งแรก ซึ่งนักเรียนกลุ่มนี้คะแนนการพัฒนาการคิดอรรถธรรมสัมพันธ์อยู่ระหว่างร้อยละ 29.52 76.92 แสดงว่า การใช้วิธีสอนแบบโยนิโสมนสิการสามารถพัฒนาการคิดอรรถธรรมสัมพันธ์ของผู้เรียนได้ 3. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนรู้แบบวิธีโยนิโสมนสิการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านต้นผึ้ง พบว่า คะแนนการทำแบบทดสอบ ของผู้เรียนก่อนเรียนเฉลี่ยร้อยละ 50.00 อยู่ในระดับผ่าน ส่วนคะแนนการทำแบบทดสอบของผู้เรียนครั้งหลังเฉลี่ยร้อยละ 75.00 อยู่ในระดับดีซึ่งคะแนนการทำแบบทดสอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.00 ของการทำแบบทดสอบในครั้งแรก นักเรียนกลุ่มนี้มีคะแนนการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อยู่ระหว่างร้อยละ 3.79 107.14 แสดงว่า การใช้วิธีสอนแบบโยนิโสมนสิการสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องมาจากผู้วิจัยได้ออกแบบ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ชัดเจน และเป็นระบบ มีการใช้กระบวนการกลุ่มที่ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเองตามขั้นตอนที่ผู้สอนได้กำหนดไว้ ท้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ส่งเสริมให้รู้จักคิด มีโอกาสได้แสดงความคิด รู้จักยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นโดยการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ตลอดจนมีการร่วมมือกันท้างานอย่างมีระบบตามขั้นตอน ทั้งนี้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามหลักโยนิโสมนสิการ โดยการนำทฤษฎีของ ศาสตราจารย์สุมน อมรวิวัฒน์ ซึ่งได้ประยุกต์มาจากหลักพุทธธรรมและพุทธวิธี เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะแก่กาลเวลา ลักษณะเนื้อหาสาระและวัยของผู้เรียน โดยมีขั้นตอนของกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามหลักโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ (1) ขั้นนำ หมายถึง ขั้นตอนของการเตรียมความพร้อมแก่ผู้เรียน อันได้แก่ การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เหมาะสมกับระดับชั้น เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนวิธีการเรียนการสอนและเนื้อหาของบทเรียน การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้สอนเป็นกัลยาณมิตร หมายถึง ผู้สอนทำตนให้เป็นที่เคารพรักของผู้เรียน โดยมีบุคลิกภาพดี สะอาด แจ่มใส และ สำรวม มีสุขภาพจิตดี มีความมั่นใจในตนเอง และการเสนอสิ่งเร้าและแรงจูงใจ เช่น ใช้สื่อการเรียนการสอน หรืออุปกรณ์และวิธีการต่าง ๆ เพื่อเร้าความสนใจ เช่น การจัดป้ายนิเทศ นิทรรศการ เสนอเอกสาร ภาพ กรณีปัญหา กรณีตัวอย่าง สถานการณ์จำลอง จัดกิจกรรมที่สนุก น่าสนใจ ให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความรู้ความสามารถของตน และได้รับทราบผลทันที (2) ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้เรียนจะได้ใช้ความสามารถทางปัญญา ฝึกทักษะต่าง ๆ และพัฒนาความสามารถทางอารมณ์ โดยใช้กิจกรรมในการจัดการเรียนรู้ตามหลักโยนิโสมนสิการด้วยวิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1. คิดเร้ากุศลทำให้เกิดความคิดและการกระทำที่ดีงามเป็นประโยชน์ ในขณะนั้น ๆ 2. ช่วยแก้ไขนิสัยเดิมพร้อมกับสร้างนิสัยความเคยชินใหม่ 3. คิดในเรื่องที่เป็นประโยชน์และดีงามอย่างมีเหตุผล 4. นำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา เมื่อครูจัดการเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอนจนครบแล้ว จะเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มอย่างมีเหตุผล ส่งผลให้เกิดการพัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบ คิดถูกวิธี คิดในแนวทางที่เป็นกุศลเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และส่วนรวม และนำวิธีการคิดที่ถูกต้องไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ (3) ขั้นสรุป หมายถึง ขั้นตอนที่ครูและผู้เรียนจะได้รวบรวมข้อมูล จากการสังเกตการปฏิบัติทุกขั้นตอน นำมาอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้ แล้วสรุปผล การปฏิบัติสรุปบทเรียน ครูวัดและประเมินผลการจัดเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะทางการคิด การตัดสินใจ และการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม ตลอดจนนำความรู้และความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข สอดคล้องกับผลการวิจัย ของ พระวิชพล รัชตนุภาพ (2556) ได้ศึกษา เรื่อง การใช้วิธีสอนแบบโยนิโสมนสิการ เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้และการคิดอรรถธรรมสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านต้นผึ้ง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีแบบโยนิโสมนสิการในเรื่องสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมเพื่อพัฒนาการคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์จำนวน 7 แผน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน คือ ขั้นสร้างศรัทธา ขั้นพิจารณาปัญหา ขั้นความคิดอรรถธรรมสัมพันธ์ และขั้นการประยุกต์ใช้ ซึ่งทุกแผนมีความสอดคล้องกับเนื้อหา จุดประสงค์ของการวิจัยตลอดจนการดำเนินกิจกรรม 2. ศึกษาการคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ของนักเรียน ขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านต้นผึ้ง โดยการใช้เกณฑ์ระดับคุณภาพการประเมินของ O-NET พบว่าคะแนนการทำแบบทดสอบของผู้เรียนครั้งแรก เฉลี่ยร้อยละ 48.33 อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนคะแนนการทำแบบทดสอบของผู้เรียนครั้งหลังเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 70.50 อยู่ในระดับดีมาก คะแนนการทำแบบทดสอบเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.17 ของการทำแบบทดสอบในครั้งแรก ซึ่งนักเรียนกลุ่มนี้ คะแนนการพัฒนาการคิดอรรถธรรมสัมพันธ์อยู่ระหว่างร้อยละ 29.52 76.92 แสดงว่า การใช้วิธีสอนแบบโยนิโสมนสิการสามารถพัฒนาการคิดอรรถธรรมสัมพันธ์ของผู้เรียนได้3. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนรู้แบบวิธีโยนิโสมนสิการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านต้นผึ้ง พบว่าคะแนนการทำแบบทดสอบของผู้เรียนก่อนเรียน เฉลี่ยร้อยละ 50.00 อยู่ในระดับผ่าน ส่วนคะแนนการทำแบบทดสอบของผู้เรียนครั้งหลัง เฉลี่ยร้อยละ 75.00 อยู่ในระดับดีซึ่งคะแนนการทำแบบทดสอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.00 ของการทำแบบทดสอบในครั้งแรก นักเรียนกลุ่มนี้มีคะแนนการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อยู่ระหว่างร้อยละ 3.79 107.14 แสดงว่า การใช้วิธีสอนแบบโยนิโสมนสิการสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ สอดคล้องกับผลการวิจัยของพระมหาสุรศักดิ์ มุ่งซ้อนกลาง (2558) ได้ศึกษา เรื่อง การศึกษาผลการเรียนรู้และการคิดแบบคุณโทษและทางออก เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการคิดแบบคุณโทษและทางออก ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับผลการวิจัยของ พระพิทักษ์ อริยปุตฺโต (บุญทอง) (2560) ได้ศึกษา เรื่อง การสอนแบบโยนิโสมนสิการ วิชาพระพุทธศาสนา นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัด แม่เฉย จังหวัดอุตรดิตถ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การสอนแบบโยนิโสมนสิการ วิชาพระพุทธศาสนา นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดแม่เฉย จังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มอย่างมีเหตุผล นำเสนอ ซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามหลักโยนิโสมนสิการได้เป็นอย่างดี 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง วันมาฆบูชา แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง วันวิสาขบูชา แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง วันอาสาฬหบูชา แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วันเข้าพรรษา แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง วันออกพรรษา มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.49, S.D = 0.49) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้าน การจัดการเรียนรู้ตามหลักโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ในรายวิชาสังคมศึกษา 5 ส 23101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยแบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้สื่อประสม โรงเรียนสตรีทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบฝึกทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการแล้วทำให้สนุกและน่าสนใจทุกครั้งอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D.= 0.51) ส่วนด้านบรรยากาศและด้านประโยชน์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D.= 0.52, = 4.44, S.D.= 0.55) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) (2542 : 33 -34) ที่อธิบายว่าในการเรียนควรเรียนจากสิ่งที่รู้เห็นเข้าใจง่าย หรือรู้เห็นอยู่แล้วไปหาสิ่งที่เข้าใจยาก หรือยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ เรียนจากเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวไปหาสิ่งที่อยู่ไกลตัว ถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่แสดงได้ก็ให้เรียนด้วยของจริง เพื่อให้นักเรียนได้ดูได้เห็น ได้ฟังเองอย่างที่เรียกว่าประสบการณ์ตรง การเรียนการสอนดำเนินไปในรูปแบบที่ให้รู้สึกว่าผู้เรียนกับผู้สอนมีบทบาทร่วมกัน ในการแสงหาความจริง ให้มีการแสดงความคิดเห็น โต้ตอบเสรี หลักการนี้เป็นข้อสำคัญในวิธีการ แห่งปัญญา และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ นันทวัน พัวพัน (2560 : บทคัดย่อ) ที่ศึกษาเรื่องการพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่อง หลักธรรมของพระพุทธศาสนา และความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลด้วยวิธีสอนแบบโยนิโสมนสิการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่านักเรียน มีความเห็นด้วยต่อการจัดการเรียนด้วยวิธีสอบแบบโยนิโสมนสิการอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกด้าน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้
1.1 ก่อนที่จะนำแบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ไปใช้ ครูผู้สอนควรศึกษาคู่มือการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และรายละเอียดของแผนการจัดการเรียนรู้ให้เข้าใจก่อน
1.2 ในกรณีที่มีการแบ่งกลุ่มการสอนควรแบ่งนักเรียนไว้ให้เรียบร้อยก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งแต่ละกลุ่มควรที่จะประกอบไปด้วยเด็กที่ระดับการเรียนเก่ง ปานกลาง และเด็กอ่อนคละกันไปเพราะทำให้นักเรียนมีโอกาสได้ช่วยกันในการเรียน
1.3 การใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3เป็นเทคนิคการเรียนรู้แนวใหม่สำหรับนักเรียน ครูได้มีรูปแบบในการใช้การจัดการเรียนรู้ตามหลักโยนิโสมนสิการ โดยครูควรศึกษาข้อมูลและหลักการของกระบวนการการจัดการเรียนรู้ตามหลักโยนิโสมนสิการให้เกิดความชำนาญ ในการที่จะนำไปใช้กับนักเรียนก่อน เพื่อไม่ให้เกิดการข้ามขั้นตอนของกระบวนการและเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไป
2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
2.1 การเลือกเนื้อหาสำหรับใช้ในแบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ควรเลือกเนื้อหาที่น่าสนใจทันสมัย ทันเหตุการณ์ จะช่วยเร้าความสนใจของนักเรียนได้ดียิ่งขึ้น และสามารถนำความรู้และข้อคิดไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
2.2 ควรศึกษาเปรียบเทียบการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โดยใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ กับวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิธีอื่นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในสาระศาสนา ศีลธรรมจริยธรรม ของนักเรียนให้มากขึ้น
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรูสังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรการเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560-2579.สำนักงานเลขาธิการสภา
การศึกษา กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม (Dictionary of Buddhism). กรุงเทพฯ : สหธรรมมิก จำกัด.
. (2549). พุทธธรรม : ฉบับปรับปรุงและขยายความ.พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.
สิริวรรณ ศรีพหล. (2552). การจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม .นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2530). การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ.กรุงเทพฯ:
โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
เสถียรพงษ์ วรรณปก. (2541). คิดเป็นทำเป็นตามแนวพุทธธรรม. กรุงเพทฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.
Applewhite, P. B. (1965). Organization Behavior Englewook Cliffs. New York:
Prentice Hall.
Maslow, A. (1970). Human needs theory: Maslows hierarchy of human needs.
In R.F. Craven & C. J. Hirnle (Eds.), Fundamental of Nursing: Human
McGregor, Douglas. (1960). The Human Side of Enterprise. New York : McGrawHill Book Company, Inc.
Morse Nancey C. (1955). Satisfaction in the White Collar Job. Michigan :
University of Michigan Press
Scott, A.H. (1970). Milkproduction. London : lliffed. Vishalache Balakrishnan (2009)