รายงานการประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
พิษณุโลก เขต 3 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินความสอดคล้องของบริบทของโครงการ 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการ และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของการดำเนินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมด้าน 4.1) การใช้กระบวนการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของนักเรียน 4.2) การพัฒนาอาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกและแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม เพียงพอ สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้และ การปฏิบัติงานของบุคลากร 4.3) การใช้อาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนและ 4.4) ความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียนต่อโครงการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย1) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านโคกใหญ่ จำนวน 7 คน (คัดออก 2 คน เนื่องจากเป็นผู้บริหารโรงเรียน และผู้แทนครู) 2) ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านโคกใหญ่ จำนวน 12 คน 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโคกใหญ่ จำนวน 60 คน (เพราะเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะตอบแบบประเมินได้) 4) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1-มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 90 คนประจำปีการศึกษา 2562 รวมทั้งหมดจำนวน 169 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการประเมินมีจำนวน 7 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลกการประเมิน
1. ด้านบริบทโดยภาพรวมมีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่าโครงการมีการกำหนดหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์และเป้าหมายไว้อย่างชัดเจนนมีความคิดเห็นว่ามีความสอดคล้องสูงที่สุดมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.91 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.30
2. ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมมีระดับความเหมาสะมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.38 เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่า มีการกำหนดขอบข่ายการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามขั้นตอนง่ายต่อการปฏิบัติ มีระดับความเหมาะสมสูงที่สุดมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.91 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.30
3. ด้านกระบวนการดำเนินงานโดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29 เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่ากิจกรรมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ New dltv, DLIT, สื่อเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตมีระดับการปฏิบัติสูงที่สุด มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.91 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.30
4. ด้านผลลิตของโครงการในด้านต่างๆ
4.1 ด้านการใช้กระบวนการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของนักเรียนโดยภาพรวมมีระดับผล การดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.27 เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่าการจัดประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นในการวิเคราะห์ปัญหา กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการดำเนินงานมีระดับผลการดำเนินงานสูงสุดมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49
4.2 ด้านการพัฒนาอาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกและแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม เพียงพอ สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้และการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยภาพรวม มีระดับผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.21 เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่าอาคารสถานที่มีความเหมาะสมและเพียงพอ ต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนมีระดับผลการดำเนินงานสูงสุดมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51
4.3 ด้านการใช้อาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน โดยภาพรวมมีระดับผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.45 เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่ามีการส่งเสริมให้ครูผู้สอนใช้อาคารสถานที่ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า มีระดับผลการดำเนินงานสูงสุดมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.43
4.4 ความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียนต่อโครงการโดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.25 เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายข้อ พบว่า อาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้มีความเหมาสมและเพียงพอมีระดับความพึงพอใจสูงที่สุด ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59