ชื่อเรื่อง รายงานการใช้สื่อศิลายุคสมัยศิลปะไทยประกอบการเรียนรู้ วิชาศิลปะ รหัสวิชา ศ21102
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ทัศนศิลป์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชื่อผู้รายงาน นางบังอร อุดม
ปีที่รายงาน 2563
บทคัดย่อ
รายงานการใช้สื่อการเรียนรู้ประกอบการเรียนรู้ วิชาศิลปะ รหัสวิชา ศ21102 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ทัศนศิลป์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชาศิลปะ
2. เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. เพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนการสอน
4. เพื่อให้นักเรียนสามารถศึกษาด้วยตนเองได้ และลดบทบาทครูให้เป็นผู้ให้คำแนะนำ
5. เพื่อให้นักเรียนมีความสุขในการเรียนวิชาทัศนศิลป์
6. เพื่อให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น
7. เพื่อให้นักเรียนรู้สึกอยากเรียนรู้บทเรียนมากยิ่งขึ้น
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 1(พานิชอุทิศ)
อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 73 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 1(พานิชอุทิศ)
อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน คือ ชั้น ม.1/2 จำนวน 36 คน
3. กลุ่มทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 1(พานิชอุทิศ)
อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 36 คน ซึ่งจะทำการสอนโดยใช้สื่อที่ผลิตขึ้น โดยเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล
1. สื่อประกอบการเรียนรู้ หลักศิลา รายวิชาทัศนศิลป์ รหัสวิชา ศ21102 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ทัศนศิลป์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
มีขั้นตอนการพัฒนาดังนี้
- ศึกษาหลักสูตรแกนกลาง 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้ซิลปะ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยศึกษา คำอธิบายรายวิชา มาตรฐานและตัวชี้วัด
- ศึกษาหน่วยการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้
- สร้างและกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้ มาตรฐาน ตัวชี้วัด
- ศึกษาวิธีสอน และจัดทำสื่อการเรียนรู้ และจัดหาแหล่งเรียนรู้จากต่าง ๆ เช่น YouTube Website และ Application เพื่อการศึกษา ประกอบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับวิธีการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ ดังนี้
- หนังสือเรียน รายวิชาทัศนศิลป์
- ใบกิจกรรม/แบบฝึกทักษะ
- คลิปวีดีโอ
- ใบกิจกรรม/แบบฝึกหัด
- แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประกอบการสอนเรื่อง ทัศนศิลป์กับถูมิปัญญาท้องถิ่น
ผลการพัฒนาพบว่า
1. ก่อนใช้สื่อการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์มีการเข้าใจในการเรียนในระดับพอใช้ หลังจากการใช้สื่อทำให้นักเรียนสนใจในการเรียนมากขึ้นสามารถวิเคราะห์ความแตกต่างของศิลปะสมัยต่าง ๆ ได้
2. นักเรียนสามารถพัฒนาผลงานที่ทำได้ดีขึ้น
3. นักเรียนสามารถสร้างสื่อนวัตกรรมของตนเองได้จากแบบฟอร์มการทำหลักศิลาของครู