ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่ทักษะชีวิตเตามแนวคิดหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนวัดโดน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครศรีธรรมราช เขต 1
ชื่อผู้ประเมิน : นางกรกนก ณ นคร
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่ทักษะชีวิต ตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนวัดโดน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPPเModel)เประเมินโครงการในด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและความสอดคล้องของนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ สถานที่ สื่อและวัสดุอุปกรณ์ และระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการเกี่ยวกับการเตรียมการ การดำเนินการ การนิเทศกำกับติดตามการประเมินผล การสรุปและรายงานโครงการ 4) เพื่อประเมินผลผลิต เกี่ยวกับผลผลิตการดำเนินงานโครงการ 11 กิจกรรม ทักษะชีวิตตามแนวคิดหลลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ
ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนวัดโดน อำเภอเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ในปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น จำนวน 68 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) จำนวน 34 คน ประกอบด้วย ครูและบุคลากร จำนวน 5 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 11 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 11 คน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่รวมตัวแทนครูและผู้บริหารโรงเรียน)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามฉบับที่ 1 ประเมินด้านบริบทและด้านปัจจัย (ประเมินก่อนดำเนินงานโครงการ) แบบสอบถามฉบับที่ 2 ประเมินด้านกระบวนการ (ประเมินระหว่างดำเนินงาน) แบบสอบถามฉบับที่ 3 ประเมินด้านผลผลิต (ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ) เกี่ยวกับผลการดำเนินงาน และด้านทักษะชีวิตของนักเรียนตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และแบบสอบถามฉบับที่ 4 ประเมินด้านด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ)
การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows 16.0 ด้วยค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่ทักษะชีวิต ตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนวัดโดน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 มีผลการประเมินสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการ โดยการประเมิน 5 ตัวชี้วัด ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยพบว่าความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา และการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยประเมิน 5 ตัวชี้วัด ในภาพรวมโครงการมีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยพบว่า ด้านสถานที่มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์ ด้านระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ ด้านบุคลากรของสถานศึกษาและด้านงบประมาณ ตามลำดับ
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการ โดยประเมิน 5 ตัวชี้วัด ในภาพรวมโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยพบว่า ด้านการเตรียมการมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ การสรุปและรายงานผล การดำเนินการ การประเมินผล และการนิเทศกำกับติดตาม ตามลำดับ
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการพบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทุกตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่า ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือด้านผลการดำเนินงานโครงการเด้านทักษะชีวิตตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเตามลำดับ เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละตัวชี้วัดพบว่า
4.1 ผลการดำเนินงานโครงการทั้ง 11 กิจกรรม พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยพบว่า กิจกรรมแปลงเกษตรปลอดสารพิษ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ปราชญ์ชาวบ้านสู่โรงเรียนและกิจกรรมการเลี้ยงปลาดุก กิจกรรมรักษ์ไทยและกิจกรรมกล้วยฉาบม้วน กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน กิจกรรมบูรณาการโครงงานประดิษฐ์ของใช้ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และจิตสาธารณะ กิจกรรมนักออมรุ่นเยาว์และกิจกรรมลานธรรม กิจกรรมเรือนเพาะเห็ด ตามลำดับ
4.2 ผลการประเมินทักษะชีวิตของนักเรียนตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้ง 8 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด โดยพบว่า การดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือการจัดการอารมณ์และความเครียด คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ การรับรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น การสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ทักษะการทำงาน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความรู้และการพัฒนาตนเอง ตามลำดับ
4.3 ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด