ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิด
ทุนทางปัญญา เพื่อการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านกลาง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ผู้วิจัย ธราเดช มหปุญญานนท์
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญา เพื่อการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 2) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญา เพื่อการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 3) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านกลาง หลังใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญา ปีการศึกษา 2563 4) เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2562 และ 2563 หลังการพัฒนาโดยใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญา และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญา เพื่อการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 การศึกษาวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ 5 ขั้นตอน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2-3 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 34 คน และ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 44 คน รวมทั้งสิ้น 78 คน ครู ปีการศึกษา 2562-2563 จำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 34 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 44 คน รวมทั้งสิ้น 78 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2562–2563 จำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น ปีการศึกษา 2562 จำนวน 180 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 180 คน รวมทั้งสิ้น 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการบริหารแบบมี
ส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญา เพื่อการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 แบบประเมินรูปแบบการบริหารแบบมี
ส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญา เพื่อการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 แบบประเมินคุณภาพเด็กปฐมวัย แบบสอบถามความพึงพอใจ เก็บรวบรวมข้อมูลเป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้น
ปีการศึกษา 2562 ช่วงเดือนมีนาคม 2563 ครั้งที่ 2 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2563
ช่วงเดือนมีนาคม 2564 และได้จัดประชุมชี้แจงกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และ
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบโดยแบบสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญา เพื่อการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
เขต 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ PDIEB Model มี 5 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) หลักการ
2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการ และ 5) การวัดและประเมินผล ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย ภายใต้ PDIEB Model มี 5 ขั้นตอน 1) ขั้นตอนที่ 1 ร่วมวางแผน (Plan shared) 2) ขั้นตอนที่ 2 ร่วมตัดสินใจ (Decision Making shared) 3) ขั้นตอนที่ 3 ร่วมดำเนินการ (Implementation shared) 4) ขั้นตอนที่ 4 ร่วมติดตามประเมินผล (Evaluation shared) และ 5) ขั้นตอนที่ 5 ร่วมรับผลประโยชน์ (Benefits shared) ครอบคลุมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 4 ด้าน ได้แก่ 1) พัฒนาการด้านร่างกาย 2) พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ 3) พัฒนาการด้านสังคม และ 4) พัฒนาการด้านสติปัญญา
2. ผลการประเมินของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญา เพื่อการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เห็นว่า รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญา เพื่อการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 PDIEB Model มีความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม และความถูกต้อง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน
3. ระดับคุณภาพเด็กปฐมวัยของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 พัฒนาการด้านร่างกาย (Physical Development) โดยภาพรวม
ปีการศึกษา 2562 พบว่า มีค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับดีเยี่ยม เท่ากับ 2.82 และ ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับดีเยี่ยม เท่ากับ 2.84 พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ (Emotional Development) โดยภาพรวม ปีการศึกษา 2562 พบว่า มีค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับดีเยี่ยม เท่ากับ 2.85 และ ปีการศึกษา 2563
มีค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับดีเยี่ยม เท่ากับ 2.93 พัฒนาการด้านสังคม (Social Development) โดยภาพรวม ปีการศึกษา 2562 พบว่า มีค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับดีเยี่ยม เท่ากับ 2.71 และ ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับดีเยี่ยม เท่ากับ 2.86 และ พัฒนาการด้านสติปัญญา (Cognitive Development) โดยภาพรวม ปีการศึกษา 2562 พบว่า มีค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับดีเยี่ยม เท่ากับ 2.74 และ ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับดีเยี่ยม เท่ากับ 2.86
4. ผลการเปรียบเทียบระดับคุณภาพเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2562 และ 2563 พบว่า คุณภาพเด็กปฐมวัย
ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่า ปีการศึกษา 2562 ทุกด้าน และเมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า ระดับคุณภาพเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 สูงขึ้นจากปีการศึกษา 2562 ซึ่งอยู่ในระดับดีเยี่ยมทั้ง 2 ปีการศึกษา
5. นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อ
รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญา เพื่อการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับมาก และ ปีการศึกษา 2563 อยู่ในระดับมากที่สุด