บทคัดย่อ
ในการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านคำที่มีสระคงรูปของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 6 คน ด้วยวิธีการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยทั้งสิ้น โดยเริ่มทำการวิจัยตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2563 - เดือนมีนาคม 2564
ผลการวิจัย พบว่านักเรียนมีการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านดีขึ้นกว่าเดิม ด้วยวิธีการให้แรงเสริมโดยการชมเชยและให้ระยะเวลาในการฝึกทักษะการอ่านมากพอสมควร ดังนั้น นักเรียนจึงเกิดทักษะในด้านการอ่านโดยฝึกทักษะการอ่านคำโดยออกเสียงสระได้อย่างถูกต้อง โดยนำมาซึ่งการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านได้อย่างคล่องแคล่วและถูกต้องเข้าใจมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านก่อนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงคำได้ถูกต้องมากขึ้น
4. ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ 1. วิธีสอนตามปกติ
2. วิธีการประเมินที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน
ตัวแปรตาม 1. พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
2. ทักษะในด้านการอ่าน
5. กรอบแนวคิดในการวิจัย
6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนมีความสามารถในการอ่านคำดีขึ้น
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านที่สูงขึ้น
7. ขอบเขตของการวิจัย
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 คน
2. แบบฝึกทักษะการอ่านคำที่มีสระคงรูป
3. แบบทดสอบการอ่านคำที่มีสระคงรูป ก่อนเรียน หลังเรียน
8. วิธีดำเนินการวิจัย
1. ขั้นตอนการสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านคำ ผู้วิจัยดำเนินการ ดังนี้
1.1 ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน
1.2 วิเคราะห์เนื้อหา/รวบรวมคำที่นักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1
1.3 กำหนดโครงร่างของแบบฝึกการอ่าน
1.4 ให้นักเรียนอ่านคำของแบบฝึกอ่านตามโครงร่าง
1.5 ให้เพื่อนครูกลุ่มสาระภาษาไทยตรวจสอบคุณภาพของแบบฝึก
1.6 ปรับปรุงแบบฝึกและจัดทำแบบฝึกการอ่าน
2. การใช้แบบฝึกการพัฒนาการอ่านคำที่มีสระคงรูป ผู้วิจัยดำเนินการดังนี้
2.1 ประชากรในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 คน ปีการศึกษา 2563 ที่มีปัญหาการอ่านคำและประสมสระเป็นคำไม่ได้ โดยศึกษากับประชากรทั้งหมด
2.2 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านคำศัพท์พื้นฐาน
2.3 การใช้แบบฝึกอ่าน ผู้วิจัยใช้แบบฝึกการอ่านในช่วงเวลาพักเที่ยง และหลังเลิกเรียน
2.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยให้นักเรียนอ่านแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน จากแบบฝึกทักษะการอ่าน
2.5 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน (X1) การทดสอบหลังเรียน (X2) คะแนนความก้าวหน้า (X1 X2) ผลต่างของคะแนนคือ ค่า D
จากการให้นักเรียนฝึกอ่านแบบทดสอบภาษาไทย นักเรียนสามารถอ่านสะกดคำที่มีสระคงรูปได้และสามารถอ่านประสมสระได้ มีผลสัมฤทธิ์ในการอ่านสูงขึ้น อ่านได้คล่องขึ้น มีความมั่นใจในการอ่านและการจดจำสระจนนำไปสู่การอ่านสะกดเป็นคำได้ดีขึ้น โดยครูเป็นผู้ชี้แนะ ครูให้นักเรียนได้ฝึกอ่านคำที่มีสระคงรูปครบทุกสระในแบบฝึก โดยให้กลับไปฝึกอ่านที่บ้านและให้เพื่อนที่อ่านออกช่วยในการฝึกอ่านหลายครั้ง ผลที่ได้นักเรียนอ่านได้ถูกต้องเกินเกณฑ์มาตรฐานที่ครูกำหนด
5. ข้อคิดที่ได้จากการทำวิจัย
ทำให้ครูผู้สอนรู้สภาพปัญหาของผู้เรียนแต่ละคน และในแต่ละปีการศึกษาว่าไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับพื้นฐาน ศักยภาพและความต่อเนื่องในการเรียนของแต่ละบุคคล รวมถึงสิ่งแวดล้อมของการเอาใจใส่ดูแลของผู้ปกครองและครูก็สำคัญ เพราะมีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งสิ้น ดังนั้นวิธีการให้แบบฝึกทักษะเพื่อเสริมนอกเนื่องจากการเรียนปกติ เป็นวิธีการที่ดีทำให้นักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกและไม่คล่อง ได้รับการฝึกฝนทักษะด้านการอ่านบ่อยๆ และมีความกระตือรือร้น มีนิสัยรักกาอ่าน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์