ที่มาของรูปแบบ การบริหารแบบมีส่วนร่วม SANRAG MODEL (สานรัก โมเดล)
โรงเรียนวัดสังขประดิษฐ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบล คันธุลี อำเภอ ท่าชนะ จังหวัด สุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีบุคลากรสายบริหาร จำนวน 1 คน และมีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 11 คน นักเรียนจำนวน 145 คน โรงเรียนมีเป้าหมายสำคัญในการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานทางการศึกษาของชาติและสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น พร้อมสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมและหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีกระบวนการการดำเนินงานโดยให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการทุกขั้นตอนเนื่องจากบริบทชุมชนบ้านดอนธูป หมู่ ที่ 3 ตำบลคันธุลี เป็นชุมชนที่เก่าแก่และให้ความสำคัญกับการศึกษาของบุตรหลานในชุมชนเป็นอย่างมาก ให้ความร่วมมือ ให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษามาโดยตลอด โดยนำนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานคือ ระดับปฐมวัยพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม โดยจัดประสบการณ์การเรียนรู้เน้นการเรียนปนเล่น สำหรับระดับประถมศึกษา ครูและผู้เรียนสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเน้นการเรียนภาษาไทยให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้ สามารถคิดคำนวณได้ เน้นพัฒนาทักษะกระบวนการคิด การเรียนรู้จากสถานการณ์จริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย และดำเนินการตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยข้าพเจ้ามีแนวคิดในการสร้างโอกาสเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มีความเหมาะสมกับสภาพและบริบทของโรงเรียน โดยนำนวัตกรรมการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมด้วยรูปแบบ สานรัก โมเดล SANRAG MODEL มาใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อประสานการทำงานและพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาระหว่างโรงเรียนและชุมชน เพื่อให้โรงเรียนเป็นของชุมชน และชุมชนร่วมกันรักษา ดูแลโรงเรียน มีการทำงานเป็นทีม ได้ร่วมวิเคราะห์และสร้างความเข้าใจในนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันของผู้บริหาร ครู บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองนักเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นบุคลากรมืออาชีพ พัฒนาผู้เรียนให้เติบโตเต็มตามศักยภาพของวัย ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมการการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และส่งเสริมการเรียนรู้ และการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยน้อมนำแนวพระราชดำริ สืบสาน พระราชปณิธาน และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ศาสตร์พระราชา มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ตามภารกิจการบริหารสถานศึกษา 4 ด้าน ดังนี้ คือด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล
ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานทั่วไป
จากการดำเนินการตามกระบวนการดังกล่าว ส่งผลให้การบริหารจัดการสถานศึกษาประสบความสำเร็จสูงสุด ตามภารกิจการบริหารสถานศึกษา 4 ด้าน โดยมีผลการปฏิบัติงานที่บ่งบอกถึงความสามารถในการขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการและ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยนวัตกรรมการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมด้วยรูปแบบ SANRAG MODEL สานรักโมเดล ดังนี้
S = Social การวิเคราะห์บริบททางสังคม ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ศึกษาบริบททางสบริบททางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม สภาพปัญหาปัจจุบัน วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในการพัฒนาการศึกษา ระดมสมอง ระดมความคิดร่วมกันวางแผน กำหนดวิสัยทัศน์ ของโรงเรียนใจความว่า โรงเรียนวัดสังขประดิษฐ์ เป็นองค์กรหลักร่วมกับชุมชน ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้นักเรียนมีความรู้ คู่คุณธรรม สร้างสานสัมพันธ์ชุมชน ยึดมั่นหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำนึกรักสิ่งแวดล้อมและมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี
A = Attitude กำหนดเป้าหมาย ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันกำหนด เป้าหมาย พันธกิจ และเป้าประสงค์ ของโรงเรียนร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษา
N = Network สร้างภาคีเครือข่าย สร้างเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียน ชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการที่ปรึกษา เครือข่ายผู้ปกครอง ชมรมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดสังขประดิษฐ์ และองค์กรชุมชนตำบลคันธุลี
R = Responsibility ความรับผิดชอบ กำหนดหน้าที่รับผิดชอบของภาคีเครือข่ายในการร่วมกันบริหารจัดการ ด้านต่างๆของโรงเรียน ให้คำปรึกษา และช่วยเหลือให้การบริหารจัดการต่างๆในโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
A = Action ร่วมกันทำงาน การร่วมกันทำงานระหว่างโรงเรียน ชุมชน และภาคีเครือข่ายด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการ การตรวจสอบ การระดมทุนเพื่อสนับสนุนงบประมาณ การระดมความคิด ระดมแรงกายและแรงใจในการพัฒนานักเรียน พัฒนาโรงเรียนและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับลูกหลานซึ่งเป็นอนาคตของชุมชน
G = Good Governance เกิดองค์กรที่ดี โดยการบริหารจัดการแบบธรรมมาภิบาลเพื่อให้เกิดความสำเร็จ เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพของชุมชน โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการดังนี้
1. หลักนิติธรรม หมายถึง กฎ ระเบียบข้อบังคับและกติกาต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพ ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิกในการถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาค
2. หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม เป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้พัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้มีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย
3.หลักความโปร่งใส หมายถึง การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในโรงเรียนและชุมชน การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา การทำงานมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้
4.หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมรับรู้และแสดงความคิดเห็น โดยเปิดโอกาสให้มีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม
5.หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม ต่อชุมชน การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและการกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากการกระทำของตนเอง
6.หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยการรณรงค์ให้มีความประหยัด ใช้ของอย่าง และรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน
ผลการปฏิบัติงาน ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ สรุปได้ดังนี้
1) นักเรียนร้อยละ ๑๐๐ ได้รับการดูแลช่วยเหลือ ทุกคนมีความรู้ ความสามารถ มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๒) ครู ร้อยละ ๑๐๐ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่าง ต่อเนื่อง
๓) โรงเรียนให้การบริการทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
๔) โรงเรียนได้รับการยอมรับ และรับความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กร ต่าง ๆ ในการช่วยเหลือในการพัฒนานักเรียนและโรงเรียน
ผลสำเร็จเชิงคุณภาพ
๑) นักเรียนทุกคนได้รับการเอาใจใส่ และรับการช่วยเหลือในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้อง ได้รับการบริการทาง การศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ได้รับการส่งเสริมให้เป็นคนดีมีคุณธรรม นำการดำรงชีวิต ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคม ได้อย่างมีความสุข มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด
๒) บุคลากรทุกคนเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชน และมีความสามัคคี ให้ความ ร่วมมือกับสถานศึกษาในการพัฒนานักเรียน พัฒนาตนเองและพัฒนางานอยู่เสมอและมีความภาคภูมิใจใน ความสำเร็จของสถานศึกษาร่วมกัน
๓) คณะครู ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและร่วมดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนอย่างทั่วถึง
๔) ชุมชนมีความเข้าใจในแนวทางการบริหารสถานศึกษา สนับสนุนและพึงพอใจในผลการบริหารจัด การศึกษาของโรงเรียนและชื่นชมความสำเร็จของสถานศึกษา