ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียน
และส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ
จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน ว่าที่ร้อยเอกวีรฉัตร โสเจยยะ
ผู้อำนวยการโรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ จังหวัดสงขลา
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ จังหวัดสงขลา
ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า
ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stuftlebeam. 1983 : 169-179) มาใช้ในการประเมิน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ครู จำนวน 15 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 107 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 104 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.92-0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมโครงการ การพัฒนาทักษะ
การอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มประเมินอยู่ในระดับมากได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.19, S.D. = 0.75) ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.16, S.D. = 0.77) ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่าน
การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.19, S.D. = 0.76) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ด้านกระบวนการในการ ดำเนินโครงการการพัฒนาทักษะ
การอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู
และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มประเมิน อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.32, S.D. = 0.72) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือผู้ปกครองมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.28, S.D. = 0.73) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.18, S.D. = 0.76) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนน 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นกัน
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต ได้แก่
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลผลิตด้านคุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่าน
การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่ากลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมสูงสุด (x̄ = 4.33, S.D. = 0.71) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน (x̄ = 4.32, S.D. = 0.70) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̄ = 4.26, S.D. = 0.75, S.D. = 0.73) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นกัน
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตเกี่ยวกับทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่ากลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 4.36, S.D. = 0.67) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู (x̄ = 4.25, S.D. = 0.72)อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่ากลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 4.32, S.D. = 0.68) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน (x̄ = 4.29, S.D. = 0.70) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̄ = 4.19, S.D. = 0.74) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่ากลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 4.36, S.D. = 0.67) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน (x̄ = 4.34, S.D. = 0.68) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̄ = 4.24, S.D. = 0.74) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียนให้ประสบผลสำเร็จและเกิดความยั่งยืน สถานศึกษาควรมีการสร้างความตระหนักเพื่อสร้าง ความรู้ความเข้าใจแก่ครูและผู้เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรม มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่างครู และผู้เกี่ยวข้อง เช่น นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานถึง ความสำคัญของการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและการมีนิสัยรักการอ่านและ ควรใช้หลักการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน อีกทั้งส่งเสริมพัฒนาครูให้ใช้การวิจัยเป็นฐานในการ พัฒนา ให้ค้นหารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญใน การพัฒนาที่เน้นทักษะ วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ตามศักยภาพของผู้เรียนก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์มากมายเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง ชุมชนและเป็นแบบอย่างแก่หน่วยงานอื่นได้
2. หลังการพัฒนาโรงเรียนควรมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลปลายทางที่ยั่งยืน โรงเรียนปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้และเป็นโรงเรียนรักการอ่าน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ สูงขึ้น มีทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียน และนิสัยรักการอ่าน สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสมกับวัย อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ครูผู้สอนเป็นครูมืออาชีพในการพัฒนาทักษะ การอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และมีนวัตกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ ได้ตรงตามความจำเป็นของสังคมปัจจุบัน
3. ผู้บริหารเป็นที่ปรึกษาหรือให้คำแนะนำให้ความรู้ตลอดจนส่งเสริมในการจัดกิจกรรม ในโครงการอย่างต่อเนื่องและสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคคล มีความยุติธรรม มีความเป็นกลางเป็นที่ยอมรับตลอดการดำเนินโครงการ มีการนิเทศ ติดตาม กำกับดูแล ช่วยเหลือและการประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการทั้งเป็นกลุ่มบริหารหัวหน้ากลุ่มสาระและเป็นรายบุคคลแบบกัลยาณมิตรโดยเน้นการมีส่วนร่วม
ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใฝ่รู้ใฝ่เรียนและการมีนิสัยรักการอ่านของ นักเรียน
2. ควรมีการวิจัยหรือรายงานเชิงคุณภาพควบคู่กับเชิงปริมาณ
3. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการ โดยประยุกต์ใช้ รูปแบบการประเมินอื่นๆ ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
4. ควรมีการประเมินโครงการในระดับองค์รวมของสถานศึกษา โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ การประเมินของซิปป์ (CIPP Model)