ชื่อเรื่อง แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง กิจวัตรประจำวัน (Daily routines)
ชื่อผู้วิจัย นางสาวลดาวัลย์ สัตยาพันธุ์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ
รายวิชา ภาษาอังกฤษฟัง-พูด รหัสวิชา อ 30203 ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จากการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ภาษาอังกฤษฟัง-พูดระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง กิจวัตรประจำวัน (Daily routines) ซึ่งนักเรียนจะต้องเขียนบรรยายเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน และงานอดิเรกที่ตนเองชื่นชอบได้ แต่เมื่อผู้สอนได้จัดกิจกรรมการเรียนตามแผนการสอนแล้ว พบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการเขียน โดยประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนของผู้เรียนอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ และจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลได้พบปัญหาและสาเหตุ ตลอดจนหาแนวทางแก้ไข ผู้วิจัยจึงพิจารณาเห็นว่า ควรมีนวัตกรรมที่สามารถช่วยพัฒนาความสามารถในการเขียนของนักเรียน ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตรสถานศึกษา จึงจัดทำสื่อที่เป็นแบบฝึกทักษะการเขียนขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจและมีคุณภาพ ทั้งด้านเวลา เนื้อหา และประสบการณ์ของผู้เรียน
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง กิจวัตรประจำวัน (Daily routines) รายวิชา ภาษาอังกฤษฟัง-พูด รหัสวิชา อ 30203 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2562โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียน
2. เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมที่สามารถช่วยพัฒนาความสามารถในการเขียนของนักเรียนให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตรสถานศึกษา รายวิชาภาษาอังกฤษฟัง-พูด รหัสวิชา อ 30203 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
3. ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/9 5/10 และ เพิ่มเติม 3 กลุ่ม จำนวน 129 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/10 จำนวน 40 คน
4. ทฤษฎี/หลักการ/งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาค้นคว้ารายละเอียด ทฤษฎี และหลักการพื้นฐาน เกี่ยวกับการสร้างแบบฝึกทักษะการเขียน จากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวล (Information Processing Theory) ซึ่งทิศนา แขมมณี (2551: 80-85) ได้กล่าวทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลไว้ดังนี้
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory) เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฎีนี้เริ่มได้รับนิยมมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 จวบจนปัจจุบัน โดยมีผู้เรียกชื่อในภาษาไทยหลายเชื่อ เช่น ทฤษฎีการประมวลข้อมูลข่าวสาร ทฤษฎีการประมวลข้อมูลสารสนเทศ ฯลฯ ในที่นี่ ผู้เขียนขอเรียกว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เพราะคิดว่ามีความหมายตรงกับหลักทฤษฎีและเข้าใจได้ง่าย ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
คลอสเมียร์ ได้อธิบายการเรียนรู้ขงมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้คือ
1) การรับข้อมูล โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
2) การเข้ารหัส โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์
3) การส่งข้อมูลออก โดยผ่านทางอุปกรณ์
คลอสไมเออร์ ได้อธิบายกระบวนการประมวลข้อมูล โดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำสั้น ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ คือการรู้จักและความใส่ใจของบุคลที่รับสิ่งเร้า
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส (encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
กระทรวงศึกษาธิการ (กรมวิชาการ 2546 : 15) กล่าวไว้ว่า กระบวนการเรียนการสอนต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยเน้นการ ปฏิบัติจริง
อารีย์ วาศน์อำนวย (2545 : 19) กล่าวว่า แบบฝึกเป็นสื่อที่ตอบสนองความสนใจของผู้เรียน สร้างขึ้นตามระดับความสามารถและความแตกต่างของผู้เรียน เป็นสื่อที่ช่วยในการแบ่งเบาภาระของครู ซึ่งทำให้ครูมองเห็นข้อบกพร่องและปัญหา และจุดอ่อนของนักเรียนเป็นเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจบบทเรียน และ ช่วยเสริมทักษะทางภาษาของนักเรียนให้ดีขึ้นและแบบฝึกยังเป็นอุปกรณ์การสอนที่ประกอบด้วยกิจกรรมหลากหลายที่น่าสนใจ นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงมากขึ้นจนเกิดความคล่องแคล่ว การจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึก ให้บรรลุประสงค์ที่ตั้งไว้ ต้องอาศัยกิจกรรมการสอนที่น่าสนใจ เกิดความสนุกสนานในการเรียน และนำสถานการณ์จริงมาใช้ในการเรียนเพื่อนักเรียนจะได้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง และนำใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์
Davis (กรมวิชาการ. 2544 : 6-7 ; อ้างอิงจาก Davis. 1973) ได้รวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ของนักจิตวิทยาที่ได้กล่าวถึงทฤษฎีของความคิดสร้างสรรค์ โดยแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 4 กลุ่ม
1. ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์เชิงจิตวิเคราะห์ นักจิตวิทยาทางจิตวิเคราะห์หลายคน เช่น ฟรอยด์ และคริส ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการเกิดความคิดสร้างสรรค์ว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นผลมาจากความขัดแย้งภายในจิตใต้สำนึกระหว่างแรงขับทางเพศ (Libido) กับความรู้สึกรับผิดชอบทางสังคม (Social conscience) ส่วน คูไบ และรัค ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาแนวใหม่ กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์นั้นเกิดขึ้นระหว่างการรู้สติกับจิตใต้สำนึก ซึ่งอยู่ในขอบเขตของจิตส่วนที่เรียกว่า จิตก่อนสำนึก
2. ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์เชิงพฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องความคิดสร้างสรรค์ว่า เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ โดยเน้นที่ความสำคัญของการเสริมแรง การตอบสนองที่ถูกต้องกับสิ่งเร้าเฉพาะหรือสถานการณ์ นอกจากนี้ยังเน้นความสัมพันธ์ทางปัญญา คือการโยงความสัมพันธ์จากสิ่งเร้าหนึ่งไปยังสิ่งเร้าต่างๆ ทำให้เกิดความคิดใหม่ หรือสิ่งใหม่เกิดขึ้น
3. ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์เชิงมานุษยนิยม นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีแนวคิดว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่มนุษย์มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด ผู้ที่สามารถนำความคิดสร้างสรรค์ออกมาใช้ได้คือผู้ที่มีสัจการแห่งตน คือรู้จักตนเอง พอใจตนเอง และใช้ตนเองเต็มตามศักยภาพของตนมนุษย์จะสามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ของตนเองมาได้อย่างเต็มที่นั้นขึ้นอยู่กับการสร้างสภาวะหรือบรรยากาศที่เอื้ออำนวย ได้กล่าวถึงบรรยากาศที่สำคัญในการสร้างสรรค์ว่า ประกอบด้วยความปลอดภัยในเชิงจิตวิทยา ความมั่นคงของจิตใจ ความปรารถนาที่จะเล่นความคิดและการเปิดกว้างที่จะรับประสบการณ์ใหม่
4. ทฤษฎีอูต้า (AUTA) ทฤษฎีนี้เป็นรูปแบบของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล โดยมีแนวคิดว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคนและสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ การพัฒนาความคิกสร้างสรรค์ตามรูปแบบอูต้าประกอบด้วย
4.1 การตระหนัก (Awareness) คือ ตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อตนเอง สังคม ทั้งในปัจจุบันและอนาคต และตระหนักถึงความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในตนเองด้วย
4.2 ความเข้าใจ (Understanding) คือ มีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
4.3 เทคนิควิธี (Techniques) คือ การรู้เทคนิคในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทั้งที่เป็นเทคนิคส่วนบุคคล และเทคนิคที่เป็นมาตรฐาน
4.4 การตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ (Actualization) คือ การรู้จักหรือตระหนักในตนเอง พอใจในตนเอง และพยายามใช้ตนเองและพยายามใช้ตนเองเต็มศักยภาพ รวมทั้งการเปิดกว้างรับประสบการณ์ต่างๆ โดยมีการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม การตระหนักถึงเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน การผลิตผลงานด้วยตนเอง และมีความคิดที่ยืดหยุ่นเข้ากับทุกรูปแบบของชีวิต
องค์ประกอบทั้ง 4 นี้ จะผลักดันให้บุคคลสามารถดึงศักยภาพเชิงสร้างสรรค์ของตนเองออกมาใช้ได้ จากทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด จะเห็นว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นทักษะที่มีในตัวบุคคลทุกคน และสามารถที่จะพัฒนาให้สูงขึ้นได้โดยอาศัยการเรียนรู้และบรรยากาศที่เอื้ออำนวย
การสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
De Cecco (1968 : 459) กล่าวว่า ครูสามารถที่จะจัดสถานการณ์ที่จะส่งเสริมความยืดหยุ่น ความคล่องในการคิด และความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาต่างๆ ของนักเรียนได้โดยมองว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นการแก้ปัญหาระดับสูง ซึ่งสามารถจัดการเรียนการสอนให้พัฒนาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ได้ และได้เสนอแนวทางในการจัดการเรียนการสอนไว้ 3 วิธี คือ
1. การจำแนกชนิดของปัญหาที่จะให้นักเรียนแก้ความคิดสร้างสรรค์ จะเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ซึ่งครูได้เตรียมปัญหาไว้ให้ แต่ไม่บอกวิธีการแก้ปัญหาแก่ นักเรียน และจากสถานการณ์ดังกล่าวจึงจะนำไปสู่สถานการณ์ที่ไม่บอกทั้งปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาแก่นักเรียนถ้านักเรียนรู้สถานการณ์ของปัญหามากน้อยเท่าไร นักเรียนก็จะสามารถคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น
2. ให้นักเรียนพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาโดยวิธีระดมพลังสมอง (Brainstorming) การตั้งสมมติฐาน และทดสอบสมมติฐาน
3. การให้รางวัลเมื่อนักเรียนสามารถทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์
5. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย/นวัตกรรม
1. แบบทดสอบวัดความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง Daily routines แบบปรนัย อย่างละ 1 ฉบับ
ฉบับละ 10 ข้อ
2. แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะการเขียน เรื่อง กิจวัตรประจำวัน (Daily routines)
3. แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง กิจวัตรประจำวัน (Daily routines)
6. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ดำเนินการจัดการเรียนรู้ เรื่อง Daily routines ในรายวิชาภาษาอังกฤษฟัง-พูด รหัสวิชา อ
30203 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2562 โดยใช้รูปแบบการสอนความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking model) ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียน เรื่อง กิจวัตรประจำวัน (Daily routines) ตามแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ประเมินผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน Post test เรื่อง Daily routines แบบปรนัย 1 ฉบับ จำนวน 10 ข้อ
7. การวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้ในการวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. นักเรียนประเมินความพึงพอใจจากการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง Daily routines และทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
2. ครูนำผลการประเมินความพึงพอใจ และผลการทดสอบหลังเรียน มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การหาค่าร้อยละ
ค่าร้อยละ = คะแนนที่ได้ × 100
คะแนนเต็ม
8. ผลการวิจัย
ในการดำเนินการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง Daily
Routines รายวิชา ภาษาอังกฤษฟัง-พูด รหัสวิชา อ 30203 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ปีการศึกษา 2562โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียน เรื่อง กิจวัตรประจำวัน (Daily routines) ที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษา สามารถสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้
ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์จากคะแนนแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
ตาราง 1 แสดงผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์จากคะแนนแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
Pre test Post test
คะแนนเฉลี่ย 4.49 7.28
ร้อยละโดยเฉลี่ย 44.88 72.79
จากตาราง 1 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีผลนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ระดับ ดี (ร้อยละ 72.79)
ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจ พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ แบบฝึกทักษะการเขียน เรื่อง กิจวัตรประจำวัน (Daily routines) ใน ระดับ มากที่สุด (4.66) โดยพบว่า สอดคล้องกับจุดประสงค์/เนื้อหา ระดับ ดีมาก (4.65) กำหนดเวลาที่ใช้ในแบบฝึกทักษะให้เหมาะสม ระดับ ดีมาก (4.72) เน้นการฝึกซ้ำๆ ระดับ ดีมาก (4.95) คำชี้แจงและคำสั่งชัดเจนง่ายต่อการเข้าใจ ระดับ ดีมาก (4.85) ช่วยให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนดีขึ้น ระดับดีมาก (4.75) เป็นสื่อที่กระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ดี ระดับ ดีมาก (4.65) รูปภาพสวยงามดึงดูดความสนใจ ระดับ ดีมาก (4.72) และ กิจกรรมมีความหลากหลาย ระดับ ดี (3.95)
จากการศึกษาและวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบทดสอบหลังเรียน (Post test) เรื่อง
Daily Routines พบว่า นักเรียนมีผลนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ระดับ ดี (ร้อยละ 72.79) และจากผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจ พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะการเขียน เรื่อง กิจวัตรประจำวัน (Daily routines) อยู่ในระดับ มากที่สุด (4.66)
9. อภิปรายผลการวิจัย
จากการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง Daily Routines รายวิชา รายวิชา ภาษาอังกฤษฟัง-พูด
รหัสวิชา อ 30203 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2562 โดยใช้รูปแบบการสอนความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking model) ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียน เรื่องกิจวัตรประจำวัน (Daily Routines) ตามแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในครั้งนี้ สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยดูจากผลการทดสอบหลังเรียนของนักเรียน ในระดับ ดี (ร้อยละ 78.60) และเมื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนที่เพิ่มขึ้นจาก 45.00 % เป็นร้อยละ78.60 % หรือเพิ่มขึ้น 33.60% ทำให้เห็นว่านักเรียนมีเกิดการเรียนรู้ และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน โดยดูจากผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะการเขียน เรื่อง กิจวัตรประจำวัน (Daily routines) มากที่สุด (4.66)
แบบฝึกทักษะการเขียน เรื่อง กิจวัตรประจำวัน (Daily routines) เป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเขียนบรรยายเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันของตนเองได้ถูกต้องตามหลักการเขียน และเกิดความคิดสร้างสรรค์ ทางภาษา
9. ข้อเสนอแนะ
1. ควรทดลองใช้แบบฝึกทักษะกับรูปแบบการสอนอื่นๆ และเทคนิคที่ต่างออกไป
2. ควรพัฒนากิจกรรมในแบบฝึกทักษะให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น