รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำลอม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ในครั้งนี้ มุ่งประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำลอม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้หลักการประเมินแบบซิปป์โมเดล ( CIPP Model ) ประกอบด้วย ประเมินด้านสภาพแวดล้อม ประเมินด้านความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้น ประเมินด้านกระบวนการ และประเมินด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 4 คน นักเรียน 39 คน และผู้ปกครองนักเรียน 31 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 4 ฉบับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.36 - 0.88, 0.44 - 0.92, 0.59 - 0.94 และ0.55 - 0.92 ตามลำดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88, 0.92, 0.90 และ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น ผู้ประเมินสามารถสรุปผลการประเมินโครงการได้ดังนี้
1. ความเหมาะสมด้านสภาพแวดล้อมของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำลอม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ตามความเห็นของ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมพบว่า มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.28
2. ความเหมาะสมด้านความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้นของ โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำลอม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
ตามความเห็นของ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมพบว่ามีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29
3. ความเหมาะสมด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำลอม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ตามความเห็นของ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมพบว่ามีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.33
4. ผลผลิตตามวัตถุประสงค์ของโครงการด้านผลผลิตของ โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำลอม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ตามความเห็นของ ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมพบว่ามีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.35
โดยสรุป โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำลอม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านทักษะการอ่านและการเขียนเป็นสำคัญ อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดการพัฒนาความรู้และทักษะในด้านอื่น ๆ ตามมา มีประโยชน์ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการศึกษาในทุกภาคส่วน ในอันที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานการศึกษา ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกมิติ และจะเป็นการส่งผลต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ ในวงวิชาชีพทางการศึกษา เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศชาติสืบไป