ชื่อผู้ประเมิน : นายอดิศักดิ์ ชุมฉิม
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดธาราวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยใช้รูปแบบซิปป์
(CIPP Model) ประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมาย ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับบุคลากรของสถานศึกษา งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ การบริหารจัด 3) ประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินงาน การนิเทศติดตาม การแก้ปัญหาอุปสรรค 4) ประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับการบริหารโครงการ การจัดกิจกรรม การมีส่วนร่วม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดธาราวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น จำนวน 229 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ จำนวน 200 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน 2) ครู จำนวน 7 คน 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 6 จำนวน 100 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 85 คน 5) กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามจำนวน 9 ฉบับ ที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วน ประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง 0.75 0.91 เก็บข้อมูลช่วงวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 9 เมษายน พ.ศ. 2564
การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป (SPSS for Windows) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (stand- deviation) ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมินพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้านทุกตัวชี้วัดและภาพรวมของโครงการดังนี้
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการโดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และใน 4 ตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมาย และความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด อยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ตามลำดับ
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการโดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด ในภาพรวมมีความพร้อมในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด และใน 4 ตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า บุคลากรของสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ วัสดุอุปกรณ์ การบริหารจัดการ และงบประมาณอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการโดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด ในภาพรวมมีความพร้อมในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด และใน 4 ตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า การวางแผน และการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การแก้ปัญหาอุปสรรคและการนิเทศ ติดตาม อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการโดยการประเมิน 3 ตัวชี้วัด ในภาพรวมมีผลการประเมินในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด และใน 3 ตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผลการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินโครงการในภาพรวม โครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดธาราวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 3 พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้น จึงเห็นสมควรอย่างยิ่งที่จะให้ดำเนินโครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดธาราวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 3 ต่อไป ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องตระหนักและให้ความสำคัญ ให้ความร่วมมือ สนับสนุนอย่างจริงจัง และมีการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ กำกับติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์
ผลการประเมิน