ชื่อรายงาน รายงานการประเมินโครงการสานสัมพันธ์ชุมชนแบบบูรณาการ
โรงเรียนบ้านมะนัง ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน นางสาวนาฎนธี ผิวเหลือง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านมะนัง
วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ระยะเวลาการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2563
ปีที่รายงาน 2564
บทสรุปผลการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการสานสัมพันธ์ชุมชนแบบบูรณาการ โรงเรียนบ้านมะนัง ปีการศึกษา 2563 โดยใช้แบบจำลองซิปป์ ( CIPP MODEL) ของดาเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Danial L.Stuffelbeam) มีวัตถุประสงค์และกำหนดขอบเขตการประเมินใน 4 ด้าน คือ 1) ด้านสภาพแวดล้อม(Content Evaluation) ได้แก่ การประเมินนโยบายของโรงเรียน หลักการและเหตุผลของโครงการ จุดประสงค์ของโครงการและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ความต้องการจำเป็นของโครงการ และความเป็นไปได้ของโครงการ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) ได้แก่ การประเมินสมรรถภาพของโครงการ การออกแบบโครงการ การดำเนินงานของโครงการ ความเหมาะสมของงบประมาณ ความพร้อมของบุคลากร การกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการของโครงการและกิจกรรมของโครงการ 3) ด้านกระบวนการ(Input Evaluation) ได้แก่ การประเมินขั้นตอนในการดำเนินงาน การจัดสื่ออุปกรณ์ กิจกรรมภายในกระบวนการดำเนินงาน ข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมโครงการ การสนับสนุนและการนิเทศติดตามของผู้บริหาร 4) ด้านผลผลิต(Product Evaluation) ได้แก่ การประเมินความคิดเห็นที่มีต่อผลสำเร็จของกิจกรรมโครงการและความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมของโครงการ
โครงการสานสัมพันธ์ชุมชนแบบบูรณาการ โรงเรียนบ้านมะนัง ปีการศึกษา 2563 ประกอบด้วยกิจกรรมในโครงการ จำนวน 10 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา 2) กิจกรรมประชุมผู้ปกครองนักเรียน 3)กิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 4) กิจกรรมวิถีพุทธ ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 5) กิจกรรมโรงเรียนสีขาว 6) กิจกรรมการจัดการขยะในโรงเรียน 7) กิจกรรมวันสำคัญ 8) กิจกรรมพริกขี้หนูคู่ชุมชนเกม 9) กิจกรรมรายงานผลสู่สาธารณชน และ 10) กิจกรรมภาคีเครือข่ายชุมชน
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษาและตัวแทนครูผู้สอน) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 24 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- 6 จำนวน 24 คน รวมกลุ่มประชากรทั้งหมด จำนวน 60 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด) จำนวน 5 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ซึ่งประเมินโดย ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ซึ่งประเมินโดย ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 3 แบบสอบถามด้านกระบวนการของโครงการ ซึ่งประเมินโดย ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 4 แบบสอบถามด้านผลผลิตของโครงการ ซึ่งประเมินโดยครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน และฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมโครงการ ซึ่งสอบถาม ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งแบบสอบถามแต่ละฉบับมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.870 , 0.842 , 0 843, 0.830 และ 0.875 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยของประชากร ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร ( )และค่าความเชื่อมั่น
ผลการประเมินโครงการ สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Content Evaluation) พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 โดยครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อ การประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 โดยครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อ การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 โดยครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 โดยครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 และผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57
5. ผลการประเมินความพึงพอใจทีมีต่อโครงการสานสัมพันธ์ชุมชนแบบบูรณาการ ของโรงเรียนบ้านมะนัง ปีการศึกษา 2563 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 โดยครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 นักเรียน มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 และผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46