บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ด้วยStoryline ในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยStoryline ในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และ 3) ศึกษาเจตคติของผู้เรียนต่อการสอนด้วย Storyline ในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 คน ได้รับการสอนแบบStoryline ระยะเวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 120 นาที ใช้แผนการทดลองแบบ One group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ storyline เรื่อง Agro tour in one day, เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบประเมินสมรรถนะการเรียนรู้, แบบประเมินทักษะการพูดเพื่อนำเสนอนักท่องเที่ยว, แบบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน-หลังเรียน, และแบบประเมินความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ด้วย Storyline ในรายวิชาภาษาอังกฤษท่องเที่ยวเชิงเกษตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบที t-test ในรูปผลต่างของคะแนน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้เรียนที่เรียนโดยการสอนด้วยวิธี Storyline มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ .01 ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นทางการพูดสูงขึ้น และพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.20 ( sd=0.26)
คำสำคัญ : ทักษะการคิด, การสอนแบบstoryline, การท่องเที่ยวเชิงเกษตร, แนวการพัฒนาผู้เรียนยุคใหม่
The Development of Learners Competence with Storyline in English for Agro-Tourism subject of Diploma Students at Petchaburi College of Agriculture and Technology
ABSTRACT
The purpose of this study were 1) to improve thinking skills with storyline method in the English course for Agricultural Tourism 2) to study academic achievement with storyline method and 3) to study the attitude of learners towards teaching with storyline method in the English course for Agricultural Tourism
The subject was the 10 diploma level students in Landscape Technology, 1st year of Phetchaburi College of Agriculture and Technology, semester 2, in academic year 2019. The researcher used one group pretest- posttest Design. The research instrument was 6 lesson plan like a storyline method, the trial period was 6 weeks, 120 minutes per week. The data collection instrument were the speaking skills evaluation form, learnscompetence evaluation from, achievement test and satisfaction toward learning activity with storyline method, 10 items of questionnaire with 5 points. The data obtained were analyzed by mean, standard deviation, percentage and t-test.
The study found that learners, who studied by storyline method, have achieved the English course for Agrotourism and significantly higher at .01. Learners have higher confidence in speaking and leanerss satisfaction toward storyline teaching and learning activities at a high level (x¯=4.20, sd=0.26)
Keywords: Thinking skills, storyline method, agro- tourism, learnerscompency development