ชื่องานวิจัย : รูปแบบการบริหารงานวิชาการด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรมของครู
ชื่อผู้วิจัย : นางมนัสนันท์ เอี่ยมพงษไ์พฑูรย์ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8
ปีที่วิจัย : 2562
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรมของครูมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรมของครู และ 2)เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรมของครูกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ครูโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรีปีการศึกษา 2562 รวมจำนวน 174 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่คู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการฯแบบสัมภาษณ์ประชุมกลุ่มย่อยแบบประเมินรูปแบบการบริหารงาน
วิชาการฯ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจแบบประเมินความสามารถการจัดการเรียนรู้แบบประเมินความสามารถพัฒนานวัตกรรมและแบบประเมินความคิดเห็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและt-test for dependent Samplesเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาบรรยายความ (Content Analysis)
ผลการวิจัย
1. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรมของครูมี5ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 วางแผนพัฒนาครู
ขั้นที่ 2 นำความรู้สู่การปฏิบัติ ขั้นที่ 3 จัดกลุ่มชุมชนการเรียนรู้และนิเทศติดตาม ขั้นที่ 4 นำความ
สำเร็จแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และขั้นที่ 5 ประเมินงานและสะท้อนผลลัพธ์และรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมีประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ซึ่งผู้วิจัยได้หาประสิทธิภาพรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเชิงคุณภาพโดยนำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญทดลองใช้ ดำเนินการใช้จริง และนำไปตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งเพื่อยืนยันประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาขึ้น
2. ผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรมของครูพบว่า
2.1 ผลการทดสอบความรู้ ความเข้าใจต่อความสามารถการจัดการเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรมของครูด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ครูมีความรู้ ความเข้าใจหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาโดยครั้งที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ (x̄ = 11.20, S.D. = 2.86) คะแนนค่าเฉลี่ย
หลังเรียนเท่ากับ (x̄ = 13.07, S.D. = 24.26) และค่าสถิติt-test =40.23 ครั้งที่ 2มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ (x̄ = 21.40, S.D. = 2.58) คะแนนค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ
(x̄ = 26.81, S.D. = 1.67) และค่าสถิติ t-test = 25.02 จากผลการทดสอบพบว่าทั้ง 2 ครั้ง มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ความสามารถการจัดการเรียนรู้ของครูด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพการประเมินความสามารถออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ของครู จากการวิจัยพบว่า การประเมินครั้งที่ 1 และ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (x̄ = 3.57, S.D.=0.16 และ x̄ = 3.56, S.D. = 0.17)ตามลำดับส่วนการประเมินความสามารถจัดการเรียนรู้ของครู จากการวิจัยพบว่าการประเมินครั้งที่ 1 และ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (x̄ = 3.58, S.D. = 0.19 และ x̄ =3.62, S.D. = 0.16) ตามลำดับ
2.3 ความสามารถพัฒนานวัตกรรมของครูจากการวิจัยพบว่า ครูมีการพัฒนาขึ้นทุก ๆ ด้าน
การประเมินครั้งที่ 1 และ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (x̄ = 3.72, S.D. = 0.15 และ x̄ = 3.74, S.D. = 0.05)ตามลำดับ