ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ
การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนพนาสวรรค์
ชื่อผู้ประเมิน นายอภิรัตน์ เชียงหนุ้น
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนพนาสวรรค์ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการ (Context Evaluation : C) 2) เพื่อประเมินปัจจัยของโครงการ (Input Evaluation : I) 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation : P) 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation : P) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufferbeam) ในการประเมิน ประชากรที่ใช้ จำนวนทั้งสิ้น 174 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 79 คน และนักเรียน จำนวน 79 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนทั้งสิ้น 123 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 79 คน และนักเรียน (ป.4 ป.6) จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ และแบบบันทึกการประชุม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percrentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนพนาสวรรค์ จากการประชุมระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความเห็นที่สอดคล้องกันในสภาพปัญหาและความจำเป็นที่ต้องพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนพนาสวรรค์ โดยเสนอให้ทางโรงเรียนจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนพนาสวรรค์ขึ้น มีวัตถุประสงค์ของโครงการ จำนวน 2 ข้อ คือ 1) เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนพนาสวรรค์ 2) เพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนพนาสวรรค์ สรุปได้ว่า ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนพนาสวรรค์ จากแบบสอบถามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนพนาสวรรค์ จากแบบสอบถามความคิดเห็นของครู พบว่า
โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนพนาสวรรค์ จากแบบสอบถามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน