ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ช้างของไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา นางปิยรัช เจริญศิลป์
สถานศึกษา โรงเรียนวัดวังสวรรค์ (ประชาบำรุง) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย กรมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ทำการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ช้างของไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ฉบับนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ช้างของไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ช้างของไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3. เพื่อประเมินดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ช้างของไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ช้างของไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดวังสวรรค์ (ประชาบำรุง) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย กรมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ช้างของไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 เล่ม 2. แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ช้างของไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ช้างของไทยกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 ข้อ โดยใช้แบบแผนการพัฒนาแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน (The One Group, Pretest-Posttest Design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ช้างของไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.83/84.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ช้างของไทยกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ช้างของไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ .7344
แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 73.44
4. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ช้างของไทยกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้นนักเรียนมีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.47, = 0.20)