บทคัดย่อ
การวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาถึง ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมหนีเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 2562 : ศึกษารายกรณี (วิจัยในชั้นเรียน) โดยทำการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการหนีเรียน และเพื่อหาแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา ๒๕๖๒ จำนวน 5 คน ที่มีพฤติกรรมหนีเรียน เครื่องมือและเทคนิคในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การทำสังคมมิติและการเยี่ยมบ้าน ภายหลัง การรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ทำการสังเคราะห์ วิเคราะห์ แปลความหมาย และสรุปผล
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองคอก จังหวัดฉะเชิงเทรา ภาคเรียนที่ ๑ ในปีการศึกษา 2562 ที่มีพฤติกรรมหนีเรียน จำนวน 29 คน เป็นนักเรียนชาย 15 คน นักเรียนหญิง ๑๔ คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน บ้านหนองคอก จังหวัดฉะเชิงเทรา ภาคเรียนที่ ๑ ในปีการศึกษา 2562 ที่มีพฤติกรรมหนีเรียน จำนวน ๕ คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling)
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
๑. ตัวแปรอิสระ (Independent Varible) ได้แก่ การศึกษารายกรณี
๒. ตัวแปรตาม (dependent Varible) ได้แก่ พฤติกรรมหนีเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
๑. การสังเกตและการบันทึกการสังเกต (Observatoin and Observation record)
๒. การสัมภาษณ์ (Interview)
๓. สังคมมิติ (Socailmety)
๔. การเยี่ยมบ้าน (Home visit)
ตัวอย่างแบบฟอร์ม บันทึกการสังเกต
แบบระเบียนพฤติการณ์ (Anecdotel Record)
ชื่อผู้ถูกสังเกต
.
อายุ
. ปี เพศ
วัน เวลาที่สังเกต
. สถานที่
..
.. ครั้งที่
พฤติกรรมที่สังเกตได้
...
ความคิดเห็นของผู้สังเกต
...
ข้อเสนอแนะของผู้สังเกต
...
ลงชื่อ
. ผู้สังเกต
แบบฟอร์มการสัมภาษณ์สำหรับบันทึกการสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์ ครั้งที่
..
ชื่อ
..
.. นามสกุล
.
อายุ
. ปี
วันที่
.. เดือน
.
. พ.ศ.
.
. เวลา
..
.. น.
สถานที่
.
..
จุดมุ่งหมายในการสัมภาษณ์
.
..
สรุปผลจากการสัมภาษณ์
.
..
ความคิดเห็น
.
..
ข้อเสนอแนะ
.
..
นัดสัมภาษณ์ครั้งต่อไปวันที่
.
เวลา
.. น.
สถานที่
.
..
ลงชื่อผู้สัมภาษณ์
..
สรุปผลการศึกษา
กรณีศึกษาของเด็กชาย ก
1. ประวัติ เด็กชาย ก เป็นบุตรคนที่ ๒ จากจำนวนพี่น้อง 2 คน คือ พี่สาว ๑ ซึ่งเกิดจากมารดาและสามีใหม่ (พี่สาว อายุ 15 ปี คนละบิดา) ครอบครัวมีฐานะยากจน ทั้งมารดาและบิดามีอาชีพรับจ้าง (เช้าไป เย็นกลับ อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง) บิดาและมารดาอาศัยอยู่กับยาย (เพิ่งย้ายมาจากต่างจังหวัดได้ประมาณ สองเดือนเศษ) ลักษณะบ้านไม้เก่า มีเนื้อที่ บริเวณบ้านพอเดินสวนทางได้ ลักษณะของเด็กชาย ก มีรูปร่างผอม ผิวสองสี แต่งกายค่อนข้าง สะอาด เป็นคนไม่ค่อยพูด มีลักษณะนิ่งเฉย ไม่ค่อยโต้ตอบ แต่มีอารมณ์รุนแรง โดยเฉพาะเวลาเล่นกับกลุ่มเพื่อน
๒. ปัญหา เด็กชาย ก มีพฤติกรรมหนีเรียน อาศัยช่วงจังหวะที่ครูเผลอ หรือไม่อยู่ในชั้นเรียน มีการหลบตาม มุมอับ หลังห้องเรียน ห้องน้ำและปีนกำแพง
๓. การวินิจฉัย จากการศึกษาพบว่า เด็กชาย ก มีพฤติกรรมหนีเรียน เนื่องจากตัวแปรด้านส่วนตัว ได้แก่ ปัญหาบุคลิกภาพไม่เหมาะสม จะสนิทสนมกับมารดา แต่เนื่องจากมารดาทำงานเช้าไป เย็นกลับ จึงไม่ค่อยมีเวลา อยู่กับเด็กชาย ก ขาดการเอาใจใส่จากครอบครัว บิดา (เป็นคนอารมณ์ร้าย) และยายจะไม่ค่อยสนิทสนมเท่าไร จึงไม่ค่อยมีการพูดคุยปรึกษากัน ปัญหาด้านการเรียน เด็กชาย ก ชอบวาดรูป แต่จะไม่ค่อยทำงาน หรือการบ้านที่ครูกำหนด นิสัยส่วนตัวชอบอยู่คนเดียว ไม่ค่อยเข้าสังคม เล่นคนเดียว
๔. การช่วยเหลือ การให้ความช่วยเหลือ เด็กชาย ก คือ ผู้วิจัยได้พูดคุยให้คำปรึกษา จำนวน 5 ครั้ง แสดง ความรัก ความเมตตา ให้เขาไว้วางใจ และได้ขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง ครูที่เกี่ยวข้อง ให้ความดูแล และให้คำปรึกษาแก่เด็กชาย ก เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป
๕. สรุปและการติดตามผล หลังจากการให้คำปรึกษา เด็กชาย ก มีการยอมรับฟัง เริ่มเข้าสังคมมากขึ้น ลดพฤติกรรมหนีเรียน เริ่มไว้วางใจผู้วิจัยมากขึ้น มีการพูดคุย ซักถามเรื่องอื่นๆ เพิ่มขึ้น เริ่มร่วมเล่นกับ กลุ่มเพื่อนและระวังเรื่องอารมณ์ของตนเองมากขึ้น