การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาศักภาพด้านศิลปะสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ (1)ด้านบริบท (Context) (2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) (3) ด้านกระบวนการ (Process) และ (4) ด้านผลผลิต (Product) 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองและนักเรียน ของโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ต่อโครงการพัฒนาศักภาพด้านศิลปะสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู จำนวน 32 คน และนักเรียน จำนวน 36 คนผู้ปกครอง จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามการประเมิน
ซึ่งถามใน 4 ด้าน มีค่าความเชื่อมั่น 0. .97 และแบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่น .95 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบ t-test ผลการประเมิน พบว่า
1.1 ด้านสภาวะแวดล้อม โดยภาพรวมพบว่ามีความสอดคล้องอยู่ ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.59, S.D. =.24) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ เมื่อพิจารณาแต่ละรายการเรียงลำดับ จากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ การดำเนินงานโครงการสนองต่อนโยบายการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.75, S.D. =.44) ห้องเรียนศิลปะมีต้นแบบผลงานภาพวาด งานปั้น สร้างแรงจูงใจแก่นักเรียนได้ดี อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.66, S.D. =.48) การกำหนดกิจกรรมสอดคล้องกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การศึกษา ของระทรวงศึกษาธิการ การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในโรงเรียนและภายนอกโรงเรียนตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานให้การยอมรับว่าเป็นโครงการที่จะเกิดการพัฒนาและมีความคุ้มค่าในการดำเนินงาน และชุมชน ท้องถิ่น และผู้ปกครองนักเรียนเห็นความสำคัญและยอมรับว่าเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.59, S.D. =.50)
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมพบว่ามีีความเพียงพอ เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.60,S.D.=.22) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ ปัจจัยด้านสื่อ อุปกรณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.69,S.D.=.23) ปัจจัยด้านบริหารจัดการ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.60,S.D.=.21) ปัจจัยด้านบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.57,S.D.=.23) ปัจจัยด้านงบประมาณ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.57,S.D.=.31)
1.3 ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมพบว่ามีประสิทธิผลอยู่ ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.61, S.D. =.23) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการประเมินสูงสุดคือ การปฏิบัติตามแผน (Do) อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.67, S.D.=.22) การแก้ไขปัญหา (Action) อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.66, S.D. =.25) ) การวางแผน (Plan) อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.58, S.D. =.24) การตรวจสอบ (Check) อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.54, S.D. =.30)
1.4 ด้านผลผลิต โดยภาพรวมพบว่ามีประสิทธิผลอยู่ ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.71, S.D. =.17) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.76, S.D. =.22) คุณค่าและประโยชน์ของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.71, S.D. =.20) ผลที่เกิดกับนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.68, S.D. =.21) นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมความสามารถทางศิลปะสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ใน จำนวน 36 คน มีความสามารถทางศิลปะก่อนและหลังการการร่วมโครงการฯ แตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยความสามารถหลังร่วมโครงการฯ สูงกว่าก่อนร่วมโครงการทุกด้าน
1.5. ความพึงพอใจต่อโครงการ โดยภาพรวมพบว่ามีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.74, S.D. =.35) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีผลการประเมินสูงสุดคือ หน่วยงานในชุมชนและผู้เกี่ยวข้องสนับสนุนกิจกรรมศิลปะ เช่น สื่อการสอน ซื้อผลิตภัณฑ์ สอนเสริมความรู้ เป็นต้น อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.84, S.D. =.37) กิจกรรมการเรียนศิลปะกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปะ (ศิลปินระดับชาติ) อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.82, S.D. =.38) การสื่อสารผ่านภาษามือและใช้สื่อทางการเห็น เช่น ภาพถ่าย ภาพวาด คลิปวีดิโอ ในการจัดการเรียนรู้ของครู อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.79, S.D. =.41)