ชื่อเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์
โดยรูปแบบการเรียนรู้ CIPPA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย จิรัฐชญา ปาแปง
สถานศึกษา โรงเรียนนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32
ปีที่พิมพ์ 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ โดยรูปแบบการเรียนรู้ CIPPA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ โดยรูปแบบการเรียนรู้ CIPPA 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผล
ของการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องระบบคอมพิวเตอร์ โดยรูปแบบการเรียนรู้ CIPPA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องระบบคอมพิวเตอร์ โดยรูปแบบการเรียนรู้ CIPPA กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนนางรอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับสลาก โดยใช้ห้องเรียน
เป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ จำนวน 6 หน่วย แผนการจัดการเรียน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์
โดยรูปแบบการเรียนรู้ CIPPA จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ
เป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Dependent Samples t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ โดยรูปแบบการเรียนรู้
CIPPA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.88/83.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ โดยรูปแบบการเรียนรู้ CIPPA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01