ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
โรงเรียนไทยราษฎร์คีรี
ผู้ประเมิน : นางศิรภัสสร ชุมภูเทพ
ปี : 2563
คำสำคัญ : หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียน
ไทยราษฎร์คีรี ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดังนี้ 1.เพื่อประเมินด้านบริบท(Context Evaluation)ของสภาพแวดล้อมของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนไทยราษฎร์คีรี 2.เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนไทยราษฎร์คีรี 3.เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนไทยราษฎร์คีรี 4.เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนไทยราษฎร์คีรี แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ สถานศึกษา โรงเรียนไทยราษฎร์คีรี
ขั้นตอนที่ 2 การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนไทยราษฎร์คีรี
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนไทยราษฎร์คีรี
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนไทยราษฎร์คีรี
ขั้นที่ 4.1 การประเมินด้านความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ขั้นที่ 4.2 การประเมินการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตในประจำวัน
การประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนไทยราษฎร์คีรี
สรุปผลได้ดังนี้
1.ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ สถานศึกษา โรงเรียนไทยราษฎร์คีรี พบว่า ผลการประเมิน โดยภาพรวมด้านบริบทของสภาพแวดล้อม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ( x̄ = 4.58) โดยลำดับสูงสุดคือ ความสอดคล้องที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ( x̄= 4.69 ) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ความจำเป็นของโครงการ
( x̄= 4.53) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนลำดับที่ต่ำสุดคือ ความเป็นไปได้ของโครงการ ( x̄= 4.51) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนไทยราษฎร์คีรี พบว่า ผลการประเมิน โดยภาพรวมด้านปัจจัย มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.65 ) โดยลำดับสูงสุดคือ บริหารจัดการ ( x̄= 4.80 ) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ วัสดุครุภัณฑ์ ( x̄= 4.70 ) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และบุคลากร ( x̄= 4.67 ) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนลำดับที่ต่ำสุดคือ งบประมาณ ( x̄= 4.44 ) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนไทยราษฎร์คีรี พบว่า ผลการประเมิน โดยภาพรวมด้านกระบวนการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.57) โดยลำดับสูงสุดคือ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม( x̄= 4.93) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ วิธีดำเนินการในแต่ละกิจกรรมมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ( x̄= 4.86) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด การดำเนินกิจกรรมโครงการเป็นไปด้วยความราบรื่น( x̄= 4.79) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ และครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมมีการพัฒนาและปรับปรุงในการดำเนินกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ ( x̄= 4.71) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนลำดับที่ต่ำสุดคือ การประสานงานการดำเนินกิจกรรมของแต่ละฝ่ายเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ( x̄= 4.29) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนไทยราษฎร์คีรี พบว่า ผลการประเมินด้านความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนมีความรู้ระดับมากที่สุดใน 5 ข้อ ได้แก่ 1) เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิตแบบใด
ร้อยละ 93.57 2) เป้าหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ ร้อยละ 91.42 3) โครงการใดต่อไปนี้ไม่ใช่โครงการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 86.42 4) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีสามองค์ประกอบ คือ ร้อยละ 85.71 และ 5) แนวทฤษฎีใหม่ให้ความสำคัญกับการจัดทรัพยากรใดมากที่สุด ร้อยละ 82.14 ส่วนผลการประเมินการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตในประจำวัน พบว่า ผลการประเมิน โดยภาพรวมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตในประจำวัน อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.51) โดยลำดับสูงสุดคือ ด้านเทคโนโลยี ( x̄= 4.61 ) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (x̄ = 4.54) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านเศรษฐกิจ ( x̄= 4.51) อยู่ในระดับมากที่สุด และ ด้านจิตใจ ( x̄= 4.45) อยู่ในระดับมาก ส่วนลำดับที่ต่ำสุด ด้านสังคมและวัฒนธรรมเศรษฐกิจ ( x̄= 4.44) อยู่ในระดับมาก