รายงานการประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานการประเมินโครงการโครงการเด็กไทยพูดอังกฤษได้โรงเรียนวัดเสาธงเก่า (ถึงสุขประชาสรรค์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบทตามตัวชี้วัดระดับความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการและระดับความเป็นไปได้ของโครงการเด็กไทยพูดอังกฤษได้ โรงเรียนวัดเสาธงเก่า
(ถึงสุขประชาสรรค์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ปีการศึกษา 2563
2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าตามตัวชี้วัดระดับความเพียงพอของบุคลากร ระดับของงบประมาณ ระดับของวัสดุอุปกรณ์ และระดับความเหมาะสมของกิจกรรมของโครงการเด็กไทยพูดอังกฤษได้ โรงเรียนวัดเสาธงเก่า (ถึงสุขประชาสรรค์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ปีการศึกษา 2563
3) เพื่อประเมินกระบวนการตามตัวชี้วัดร้อยละของการดำเนินงานและร้อยละการติดตามของโครงการเด็กไทยพูดอังกฤษได้ โรงเรียนวัดเสาธงเก่า (ถึงสุขประชาสรรค์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
เขต 1 ปีการศึกษา 2563 4) เพื่อประเมินผลผลิตตามตัวชี้วัดความรู้เรื่องทักษะภาษาอังกฤษ ทักษะชีวิต ความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูของโครงการเด็กไทยพูดอังกฤษได้ โรงเรียนวัดเสาธงเก่า (ถึงสุขประชาสรรค์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
ปีการศึกษา 2563 และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง โดยใช้รูปแบบ CIPP Model เป็นรูปแบบการประเมินที่มีความสมเหตุสมผลครอบคลุมการประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 181 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดเสาธงเก่า (ถึงสุขประชาสรรค์) ปีการศึกษา 2563 ข้าราชการครู จำนวน 5 คน ครูต่างชาติ จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวัดเสาธงเก่า (ถึงสุขประชาสรรค์) จำนวน 7 คน นักเรียนโรงเรียนวัดเสาธงเก่า (ถึงสุขประชาสรรค์) จำนวน 82 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดเสาธงเก่า (ถึงสุขประชาสรรค์) จำนวน 82 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วยแบบสอบถาม จำนวน 9 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ และแบบสังเกต จำนวน 2 ฉบับ รวม จำนวน 13 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้ t-Test แบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟา หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรของครอนบาร์ค
ซึ่งผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีเกณฑ์ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
1.2 ความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด 2.2 ระดับของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.3 ระดับของวัสดุอุปกรณ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.4 ระดับความเหมาะสมของกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีเกณฑ์ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ร้อยละของการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
3.2 ร้อยละการติดตามของโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต มีเกณฑ์ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 นักเรียนมีทักษะภาษาอังกฤษ พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วนักเรียนมีทักษะภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.000 ในระดับมากที่สุด
4.2 นักเรียนมีทักษะชีวิต พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วนักเรียนมีทักษะชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.000 ในระดับมากที่สุด
4.3 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
4.4 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
4.5 ระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
ผลการประเมินโครงการ พบว่า ผลการดำเนินการโครงการเด็กไทยพูดอังกฤษได้ โรงเรียนวัดเสาธงเก่า
(ถึงสุขประชาสรรค์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ปีการศึกษา 2563
ผ่านการประเมินโครงการอยู่ในระดับมาก ซึ่งประเด็นการประเมินทั้ง 4 ด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
โดยประเด็นที่ผ่านมากที่สุดมี 2 ด้าน คือ ประเด็นด้านบริบท ด้านผลผลิต และอยู่ในระดับมาก 2 ประเด็น คือ
ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ