ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนพยัญชนะไทยด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการเขียนพยัญชนะไทย ของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุรินทร์ หน่วยบริการสวาย
ผู้วิจัย นางสาวพอหทัย ปทุมวิง
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2563
หน่วยงาน ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุรินทร์
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการพัฒนาความสามารถด้านการเขียนพยัญชนะไทยด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการเขียนพยัญชนะไทย ของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โดยผู้ร่วมวิจัย คือ นักเรียนจำนวน 1 คนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุรินทร์ หน่วยบริการบัวเชด จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการเขียนพยัญชนะไทย สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน, แบบทดสอบการเขียนพยัญชนะไทย, แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองและครู โดยทำการฝึกเป็นระยะเวลา 20 สัปดาห์ๆ ละ 1 วัน วันละ 50 นาที รวม 20 ครั้ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ 1) ค่าร้อยละ (Percentage) 2) ค่าเฉลี่ย (µ ) 3) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความสามารถด้านการเขียนพยัญชนะไทย ด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการเขียนพยัญชนะไทย ของบุคคลมีความบกพร่องทางการได้ยิน
2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครู ผู้ปกครองและบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อการวิจัย การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนพยัญชนะไทยด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการเขียนพยัญชนะไทย ของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุรินทร์ หน่วยบริการสวาย
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทยของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หลังการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการเขียนพยัญชนะไทยมีระดับความสามารถสูงกว่าความสามารถเขียนพยัญชนะไทย ก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการเขียนพยัญชนะไทย สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โดยก่อนการฝึกมีคะแนนก่อนเรียน 64.14 คะแนน หลังจากการได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการเขียนพยัญชนะไทย สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เด็กมีคะแนน 74.14 คะแนน
2. ความสามารถในการเขียนพยัญชนะไทยของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษหลังการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการเขียนพยัญชนะไทยสูงขึ้น
3. อัตราความพึงพอใจของผู้ปกครอง ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการเขียนพยัญชนะไทยในบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีอัตราความพึงพอใจ ร้อยละ 95.25