ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ผู้วิจัย นายอับดุลอาซิส ยาบา
โรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลอย่างมีประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 3 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ ปีการศึกษา 2562 จำนวนนักเรียน 30 คน เครื่องมือประกอบด้วย แบบประเมิน, แบบสอบถาม แบบทดสอบ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล พบว่า มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล พบว่า มีประเด็นที่ให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาประเมิน ได้แก่ ประเด็นที่ 1 ความเหมาะสมของรูปแบบ และประเด็นที่ 2 ความเป็นไปได้ของรูปแบบ พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยกับประเด็นการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ทั้ง 2 ประเด็น คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งหมายถึงรูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล สามารถนำไปใช้ได้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูลทุกคนอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียมนักเรียนของครูกลุ่มทดลอง พบว่า มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียมสูงกว่าคะแนนก่อนการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 01
4. การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ครู 3 คน พบว่า หลังการใช้รูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ครูมีทักษะการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียมสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ทุกคน
2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนของครู 3 คน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียมสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียมทุกคนโดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 01
คำสำคัญ : รูปแบบ/การบริหารจัดการ/การจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม