บทคัดย่อ
เรื่อง รายงานการประเมินโครงการจัดสภาพแวดล้อมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ
ผู้รายงาน ปาณญดา ตั้งรุจวัฒนา
การประเมินโครงการจัดสภาพแวดล้อมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการจัดสภาพแวดล้อมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองและนักเรียน โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP Modelของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeams Model)
ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการโครงการจัดสภาพแวดล้อมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ จำนวน 112 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ จำนวน 1 คน ครูโรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ จำนวน 8 คน ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ จำนวน 3 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 50 คน นักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 50 คน
การเผยแพร่ผลการประเมินโครงการโครงการจัดสภาพแวดล้อมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ ในครั้งนี้ ผู้รายงานได้ดำเนินการเผยแพร่ให้กับผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 จำนวน 10 คน ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 จำนวน 2 คน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำนวน 2 คน และเผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
เครื่องมือที่ใช้ มี 7 ประเภท ได้แก่ 1. แบบประเมินโครงการจัดสภาพแวดล้อมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ
2. แบบประเมินกิจกรรมผลการดำเนินโครงการจัดสภาพแวดล้อมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ
3. แบบประเมินพฤติกรรมการสอนของครูเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรมโรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ
4. แบบประเมินพฤติกรรมของนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคม ศาสนา และวัฒนธรรมโรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ
5. แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรมโรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ
6. แบบประเมินความพึงพอใจในการดำเนินโครงการจัดสภาพแวดล้อมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ
7. แบบประเมินความพึงพอใจในผลที่ได้จากการประเมินโครงการจัดสภาพแวดล้อมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ
ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย หาความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และหาความเที่ยงตรงโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา(Alpha) ของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินโครงการแต่ละฉบับผลการประเมิน ดังนี้
1. แบบประเมินโครงการจัดสภาพแวดล้อมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89
2. แบบประเมินผลการดำเนินกิจกรรม โครงการจัดสภาพแวดล้อมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.88
3. แบบประเมินพฤติกรรมการสอนของครูสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ มีความเที่ยงเท่ากับ 0.91
4. แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพี่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรมโรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.92
5. แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรมโรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.87
6. แบบประเมินความพึงพอใจในการดำเนินโครงการจัดสภาพแวดล้อมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรมโรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96
7. แบบประเมินความพึงพอใจในผลที่ได้จากการประเมินโครงการจัดสภาพแวดล้อมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89