เรื่อง รายงานผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านเนินม่วง(ประชาบำรุง)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยใช้รูปแบบ CIPP MODEL
ผู้รายงาน นายวันเฉลิม ไพรศิลป์
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการ ฯ และประเมินความพึงพอใจของ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านเนินม่วง(ประชาบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยใช้รูปแบบ CIPP MODEL ประชากรที่ใช้การศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา สภานักเรียน และผู้ปกครอง โรงเรียนบ้านเนินม่วง(ประชาบำรุง) ปีการศึกษา 2563 ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 11 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 9 คน สภานักเรียน จำนวน 14 คน และผู้ปกครอง จำนวน 36 คน รวมทั้งหมด 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านเนินม่วง(ประชาบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยใช้รูปแบบ CIPP MODEL ใน 4 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เกี่ยวกับความสามารถในการปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วยสมรรถนะประจำสายงาน ด้านความรู้ความเข้าใจ 1. การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ด้านสมรรถนะครู 1.การพัฒนาผู้เรียน 2.การบริหารจัดการชั้นเรียน 3. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน 4. ภาวะผู้นำครู 5.การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ มีลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามวิธีการของ ลิเคอร์ท (Likert) คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านเนินม่วง(ประชาบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยใช้รูปแบบ CIPP MODEL โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านแล้วเรียงอันดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัยเบื้องต้น และด้านผลผลิต เมื่อพิจารณารายด้าน สรุปผลได้ดังนี้
1.1 ด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า ผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียน บ้านเนินม่วง(ประชาบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยใช้รูปแบบ CIPP MODEL โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านแล้วเรียงอันดับจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ โครงการนิเทศภายในสร้างคุณลักษณะที่ดีด้านเชาว์ปัญญาให้แก่ผู้เรียน หลักการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน และการประสานงานระหว่างบุคลากรทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงาน
1.2 ด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียน บ้านเนินม่วง(ประชาบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยใช้รูปแบบ CIPP MODEL โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อแล้วเรียงอันดับจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ มีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู มีจำนวนบุคลากร ที่ร่วมดำเนินโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ และมีงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด
1.3 ด้านกระบวนการ พบว่า ผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านเนินม่วง(ประชาบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยใช้รูปแบบ CIPP โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านแล้วเรียงอันดับจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ การวิเคราะห์และนำผลการประเมินมาพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง การนิเทศติดตามการดำเนินโครงการตามขั้นตอนที่กำหนดทุกระยะ และการปฏิบัติงานตามโครงการ
1.4 ด้านผลผลิต พบว่า ความสามารถในการปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วย สมรรถนะ
ประจำสายงาน ด้านความรู้ความเข้าใจ ได้แก่ 1. การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ด้านสมรรถนะครู ได้แก่ 1. การพัฒนาผู้เรียน 2. การบริหารจัดการชั้นเรียน 3. การวิเคราะห์ สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน 4. ภาวะผู้นำครู 5. การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ ผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านเนินม่วง(ประชาบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยใช้รูปแบบ CIPP โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านแล้วเรียงอันดับจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ภาวะผู้นำครู และการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
2. การประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา สภานักเรียน และผู้ปกครองต่อโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านเนินม่วง(ประชาบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยใช้รูปแบบ CIPP MODEL โดยรวมและรายข้อ อยู่ในระดับมาก ยกเว้นครูมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานและครูมีความกระตือรือร้น ในการทำงาน เมื่อพิจารณารายข้อแล้วเรียงอันดับจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ครูมีขวัญ และกำลังใจในการปฏิบัติงาน ครูมีความกระตือรือร้นในการทำงาน และผู้เรียนมีส่วนร่วมรักโรงเรียน ชุมชน ประเทศชาติ