บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านนาไคร้ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านนาไคร้ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านนาไคร้ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านนาไคร้ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และ 5) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังดำเนินโครงการส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านนาไคร้ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 5 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านนาไคร้ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านนาไคร้ จำนวน 7 คน นักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนาไคร้ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 73 คน และผู้ปกครองของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนาไคร้ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 61 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองของนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านนาไคร้ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านนาไคร้ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยการสอบถามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาคณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนาไคร้ ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านนาไคร้ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับปฏิบัติได้ผลดี เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับปฏิบัติได้ผลดีมาก จำนวน 1 ข้อ คือ เป็นโครงการที่สอดคล้องกับพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ส่วนข้อที่เหลือทั้งหมดอยู่ในระดับปฏิบัติได้ผลดี โดยข้อรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับแรกคือ เป็นโครงการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาไคร้ รองลงมาคือ เป็นโครงการที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการประจำปี 2563 ของโรงเรียนบ้านนาไคร้ และเป็นโครงการที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนบ้านนาไคร้ ส่วนข้อรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ เป็นโครงการที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาชาติ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านนาไคร้ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยการสอบถามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาคณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองของนักเรียน ระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนาไคร้ ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านนาไคร้ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปฏิบัติได้ผลดี เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับปฏิบัติได้ผลดีมาก จำนวน 1 ข้อ คือ โรงเรียนบ้านนาไคร้มีแผนปฏิบัติการประจำปี 2563 ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนข้อที่เหลืออยู่ในระดับปฏิบัติได้ผลดี โดยข้อรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับแรกคือ โรงเรียนบ้านนาไคร้มีแผนปฏิบัติการประจำปี 2563 ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผู้ รองลงมาคือ บริหารโรงเรียนบ้านนาไคร้ มีเจตคติที่ดีต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ มีเจตคติที่ดีต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนข้อรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านนาไคร้ มีเวลาเพียงพอในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกับนักเรียนเมื่อมีความจำเป็น
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านนาไคร้ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยการสอบถามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาคณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองของนักเรียน ระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนาไคร้ ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านนาไคร้ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปฏิบัติได้ผลดี เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับปฏิบัติได้ผลดีทุกข้อ โดยข้อรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับแรกคือ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ รองลงมาคือ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม และครูผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมร่วมแก้ปัญหาในการทำกิจกรรมของนักเรียน ส่วนข้อรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ให้ความช่วยเหลือการทำกิจกรรมของนักเรียนตามโอกาส
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านนาไคร้ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยการสอบถามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาคณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนาไคร้ ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านนาไคร้ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปฏิบัติได้ผลดี เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับปฏิบัติได้ผลดีมาก จำนวน 3 ข้อ เรียงตามข้อรายการที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ มีผลผลิตของโครงการ คือ ไข่ไก่ มีผลผลิตของโครงการ คือ ผักปลอดสารพิษ และมีผลผลิตของโครงการ คือ เห็ดนางฟ้า ส่วนข้อที่เหลืออยู่ในระดับปฏิบัติได้ผลดี โดยข้อรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับแรกคือ มีผลผลิตของโครงการ คือ น้ำปุ๋ยหมักชีวภาพ รองลงมาคือ มีผลผลิตของโครงการ คือ หมู และมีผลผลิตของโครงการ คือ ไก่เนื้อ ส่วนข้อรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ คนในชุมชนมีความรู้และมีเจตคติที่ดีต่อเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่
5. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังดำเนินโครงการส่งเสริมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านนาไคร้ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน 8 กลุ่มสาระฯ ของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาไคร้ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนการดำเนินโครงการฯ (ปีการศึกษา 2562) เทียบกับหลังดำเนินโครงการ (ปีการศึกษา 2563) โดยภาพรวมของโรงเรียน เพิ่มขึ้นทุกกลุ่มสาระฯ ซึ่งกลุ่มสาระที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นอันดับแรกคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ รองลงมาคือกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามลำดับ ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ
ข้อเสนอแนะเพื่อการนำไปใช้
1. จากผลการประเมินด้านบริบท พบว่า เป็นโครงการที่ยังไม่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาชาติเท่าที่ควร ดังนั้นจึงควรกำหนดรายละเอียดของโครงการให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาชาติมากขึ้น
2. จากผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนมีเวลาไม่เพียงพอในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกับนักเรียนเมื่อมีความจำเป็น ดังนั้นจึงควรให้ผู้ปกครองนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมกับการดำเนินโครงการฯ มากขึ้น
3. จากผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง ให้ความช่วยเหลือการทำกิจกรรมของนักเรียนตามโอกาสน้อยมาก ดังนั้นจึงควรให้ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง ได้ความช่วยเหลือการทำกิจกรรมของนักเรียนมากขึ้น
4. จากผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า คนในชุมชนยังขาดความรู้และมีเจตคติที่ดีต่อเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้คนในชุมชนเข้ามามีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการฯ
ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาครั้งต่อไป
1. ควรมีการปรับปรุงรูปแบบการดำเนินโครงการฯ ไปพร้อมกับการประเมินโดยใช้รูปแบบการประเมินของ CIPP Model ตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งสิ้นสุดโครงการฯ
2. ควรมีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนให้ครอบคลุมทุกด้าน