บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านวังหม้อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 ตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหารสถานศึกษา 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต 2) เพื่อศึกษาจิตสาธารณะของนักเรียน โรงเรียนบ้านวังหม้อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังดำเนินโครงการส่งเสริม จิตสาธารณะสำหรับนักเรียน โรงเรียนบ้านวังหม้อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 5 กลุ่มประชากรที่ใช้ ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านวังหม้อ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 14 คน นักเรียนโรงเรียนบ้านวังหม้อ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 47 คน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านวังหม้อ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 47 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินโครงการส่งเสริมจิตสาธารณะสำหรับนักเรียน โรงเรียนบ้านวังหม้อ และแบบวัดจิตสาธารณะสำหรับนักเรียน โรงเรียนบ้านวังหม้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมจิตสาธารณะสำหรับนักเรียน โรงเรียนบ้านวังหม้อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมปฏิบัติได้ผลในระดับมาก จำแนกรายด้านดังต่อไปนี้
1.1 การดำเนินโครงการส่งเสริมจิตสาธารณะสำหรับนักเรียน โรงเรียนบ้านวังหม้อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ด้านบริบท ปฏิบัติได้ผลในระดับมาก
1.2 โครงการส่งเสริมจิตสาธารณะสำหรับนักเรียน โรงเรียนบ้านวังหม้อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ด้านปัจจัยนำเข้า ปฏิบัติได้ผลในระดับมาก
1.3 โครงการส่งเสริมจิตสาธารณะสำหรับนักเรียน โรงเรียนบ้านวังหม้อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ด้านกระบวนการ ปฏิบัติได้ผลในระดับมาก
1.4 โครงการส่งเสริมจิตสาธารณะสำหรับนักเรียน โรงเรียนบ้านวังหม้อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ด้านผลผลิต ปฏิบัติได้ผลในระดับมาก
2. นักเรียน โรงเรียนบ้านวังหม้อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้รับการส่งเสริมจิตสาธารณะ มีจิตสาธารณะในภาพรวมอยู่ระดับมาก จำแนกรายด้านดังต่อไปนี้
2.1 ด้านการหลีกเลี่ยงการใช้ หรือการกระทำที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อของส่วนรวมอยู่ในระดับมาก
2.2 ด้านการถือเป็นหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสมบัติของส่วนรวม อยู่ในระดับมาก
2.3 ด้านการเคารพสิทธิในการใช้ของส่วนรวม อยู่ในระดับมาก
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังดำเนินโครงการส่งเสริม จิตสาธารณะสำหรับนักเรียน โรงเรียนบ้านวังหม้อ พบว่า ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน 8 กลุ่มสาระฯ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านวังหม้อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนการดำเนินโครงการฯ (ปีการศึกษา 2562) เทียบกับหลังดำเนินโครงการ (ปีการศึกษา 2563) โดยภาพรวมของโรงเรียน เพิ่มขึ้นทุกกลุ่มสาระฯ ซึ่งกลุ่มสาระที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นอันดับแรกคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ รองลงมาคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามลำดับ ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการศึกษาไปใช้
1. ผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการควรนำข้อมูลดังกล่าวไปพัฒนาการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในปีการศึกษาต่อไป
2. การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน เป็นการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ และพฤติกรรม เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ต้องมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเพื่อฝึกให้เกิดเป็นนิสัยมีสาธารณะ ติดตัวอย่างถาวร
3. การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน ควรมีการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียน
4. ควรมีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่โครงการส่งเสริมจิตสาธารณะสำหรับนักเรียน เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป
1. ควรดำเนินการส่งเสริมจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนทั้งโรงเรียน ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นอนุบาล
2. ควรศึกษาเพื่อประเมินโครงการโดยใช้กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่หลากหลาย เช่น การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครอง และชุมชนที่มีต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียน เป็นต้น
3. ควรมีการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกตพฤติกรรมโดยใช้แบบตรวจสอบรายการ การสอบถาม และการสัมภาษณ์ เป็นต้น
4. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของโครงการ
5. ควรมีการศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตสาธารณะสำหรับนักเรียน