บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนวัดพะยอมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการและความเป็นไปได้ของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมของบุคลากรและความเหมาะสมของกิจกรรม ประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการและร้อยละของการติดตาม และประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับทักษะการอ่าน ผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทย ทักษะการคิด นิสัยรักการอ่าน ความพึงพอใจของนักเรียน ความพึงพอใจของผู้ปกครอง ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และความพึงพอใจของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนวัดพะยอมระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 6 จำนวน 140 คน ครูผู้สอนโรงเรียนวัดพะยอม จำนวน 12 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดพะยอม จำนวน 140 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน รวม 299 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า จำนวน 6 ฉบับ แบบบันทึก 3 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์ 2 ฉบับ รวม 11 ฉบับ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้ t-Test แบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟาหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรของคอนบาร์ค ซึ่งผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน โดยภาพรวมพบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่า ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด 3 ประเด็น เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านบริบท ส่วนประเด็นผลผลิตพบว่าผ่าน 5 ตัวชี้วัดและไม่ผ่าน 3 ตัวชี้วัดผลการประเมินรายละเอียดทุกตัวชี้วัดสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบท พบว่า มีความเหมาะสมและผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่าทุกตัวชี้วัดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ความเป็นไปได้ของโครงการ และความต้องการจำเป็นของโครงการ
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า พบว่า มีความเหมาะสม และผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ระดับความเหมาะสมของบุคลากรและระดับความเหมาะสมของกิจกรรม
3. ผลการประเมินกระบวนการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ กิจกรรมที่ดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมินและการติดตาม คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินผลผลิต พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน 5 ตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด เรียงลำดับพบว่าทักษะการอ่าน ผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทย และทักษะการคิดหลังจากเข้าร่วมโครงการมีคะแนนไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนนิสัยรักการอ่านและความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และระดับมากซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ นิสัยรักการอ่าน ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ความพึงพอใจของครู ความพึงพอใจของนักเรียน และความพึงพอใจของผู้ปกครอง
ข้อเสนอแนะ
1. การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านตามโครงการ นอกจากจัดกิจกรรมที่หลากหลายในห้องสมุดแล้วควรนำสู่ห้องเรียนและนอกห้องเรียนด้วย
2. โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ควรให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการคิดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการวัดและประเมินผลคุณภาพผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 และกำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมทั้งระบบ
3. ควรแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบเครื่องมือก่อนดำเนินกิจกรรม
4. การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านควรจัดให้มีการอ่านออกเสียงเพื่อให้นักเรียนได้รู้ข้อบกพร่องและแก้ไขได้ทันเวลา
5. ควรให้ครูผู้สอนในเกณฑ์การให้คะแนนด้านความสามารถในการอ่านในการวัดผลประเมินผลนักเรียน ตามที่สำนักทดสอบทางการศึกษากำหนดในระดับห้องเรียน