ชื่อเรื่อง
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดพรหมจริยาวาส สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครสวรรค์
ผู้วิจัย นางสาวพิณญาดา จาบจินดา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามรูปแบบ (The PISAA Model) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การกำหนดปัญหา (Problem Finding) ขั้นที่ 2 การค้นหาความคิด (Idea Finding) ขั้นที่ 3 การเลือกกลวิธีการแก้ปัญหา (Strategy Finding) ขั้นที่ 4 การลงมือปฏิบัติ (Action Finding) และขั้นที่ 5 การประเมินผล (Assessment Finding) การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ผู้วิจัยได้แบ่งการดำเนินงานการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดพรหมจริยาวาส
แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบ การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development D & D) การพัฒนาหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เป็นการนำไปใช้ (Implementation : I) การทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็น การประเมินผล (Evaluation : E) การประเมินและปรับปรุง แก้ไขการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถใน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 2) แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 3) แบบทดสอบวัดความสามารถ ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และ t-test แบบ Dependent Sample ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานเอกสารและข้อมูลพื้นฐานบุคคลสามารถกำหนดเป็นนิยาม องค์ประกอบ และพฤติกรรมในแต่ละองค์ประกอบของความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และแนวทาง การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ พบว่าพฤติกรรมที่แสดงถึงการรับรู้การทำความเข้าใจกับปัญหาและการคิดหาเหตุผลเพื่อแสวงหาทางเลือกมาปฏิบัติในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 ความสามารถ ด้านความรู้ความเข้าใจปัญหา ด้านที่ 2 ความสามารถด้านการสืบค้นข้อมูลในการแก้ปัญหา ด้านที่ 3ความสามารถด้านการนำเสนอวิธีในการแก้ปัญหา ด้านที่ 4 ความสามารถด้านการปฏิบัติใน การแก้ปัญหาและด้านที่ 5 ความสามารถด้านการวัดผลและประเมินผล แนวทางการพัฒนา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการกระตุ้นให้เด็กปฐมวัย คิดและตอบคำถามอย่างสม่ำเสมอ กิจกรรมการระดมสมอง ครูปฐมวัยและเด็กปฐมวัย มีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างสรรค์โดยครูสามารถเป็นผู้กำหนดกรอบของคำถามในการระดมสมองเพื่อให้เกิดทิศทางในการค้นหาและได้มาซึ่งคำตอบตามวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้ ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ให้เด็กปฐมวัยคิดวางแผนและลงมือปฏิบัติกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยตนเอง มีหลากหลายใช้หลายวิธีเหมาะสมกับวัยเด็กปฐมวัยโดยมีสื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่แปลกใหม่ สีสันสวยงามประกอบกับการสร้างสถานการณ์จำลองโดยใช้เหตุการณ์เกี่ยวกับชีวิตประจำวันเพื่อให้เด็กปฐมวัย ได้แก้ปัญหาจากประสบการณ์ตรง มีการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในห้องเรียนสม่ำเสมอเพื่อสร้างแรงจูงใจ เด็กปฐมวัยได้เกิดคำถามและต้องการค้นหาคำตอบในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ดังนี้ ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ตามรูปแบบ (The PISAA Model) 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1การกำหนดปัญหา (Problem Finding) ขั้นที่ 2 การค้นหาความคิด (Idea Finding) ขั้นที่ 3 การเลือกกลวิธีการแก้ปัญหา (Strategy Finding) ขั้นที่ 4 การลงมือปฏิบัติ (Action Finding) และขั้นที่ 5 การประเมินผล (Assessment Finding) ผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1 ) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ( E2 ) เท่ากับ 85.01/85.00 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
3. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (X- =13.60, S.D. =1.63) เพิ่มขึ้นจากก่อนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 (X- =9.30, S.D.=1.63) แตกต่างอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 พบว่าความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 รวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (X- =4.49, S.D. =0.67)