บทคัดย่อ
รายงานรายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหนอง
สร้างไพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 วัตถุประสงค์การศึกษาได้แก่
1) เพื่อประเมินผลโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองสร้างไพร สำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 โดยใช้ CIPP Model 4 ด้าน ด้านบริบท(Context) ด้านปัจจัย (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระหว่างก่อนและหลังการประเมินผลของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองสร้างไพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านหนองสร้างไพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านหนองสร้างไพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 6 ห้องเรียน รวม 42 คน ได้มาโดยการกำหนดเอาประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง 2)ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านหนองสร้างไพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 6 คน ได้มาโดยการกำหนดเอาประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง
3)คณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองสร้างไพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 9 คน ได้มาโดยการกำหนดเอาประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง
4) ผู้ปกครองของนักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนบ้านหนองสร้างไพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 42 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เฉพาะผู้ปกครองของนักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนบ้านหนองสร้างไพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ปีการศึกษา 2563 5) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านหนองสร้างไพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 6 ห้องเรียน รวม 42 คน ได้มาโดยการกำหนดเอาประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) คู่มือการจัดกิจกรรมโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 1 เล่ม ค่าความเหมาะสม = 4.36 S.D.= 0.23 2) แบบประเมินผลโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 34 ข้อ ค่าความเหมาะสม=3.80 S.D.= 0.27 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = 0.8955 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนน 12 ข้อ ค่าความเหมาะสม= 4.59 S.D.= 0.17 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = 0.9154 เก็บข้อมูลแบบ One Group Pre-test Post-test Design ได้แก่ ประเมินก่อนพัฒนา (Pre Evaluation) พัฒนาโดยใช้คู่มือพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Treatment) และประเมินหลังการพัฒนา (Post - Evaluation) แบบประเมินความพึงพอใจ เก็บข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบประเมิน แล้นำมาให้ค่าคะแนน และแปลผลตามเกณฑ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ใช้วิธี Item total Correlation ใช้สูตรสหสัมพันธ์อย่างง่ายของ Pearson หาค่าอำนาจจำแนกแบบประเมินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ใช้สถิติสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) หาค่าความเชื่อมั่นแบบแบบประเมินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ใช้สถิติ t-test ทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบการประเมินก่อนและหลังประเมิน และใช้สถิติพื้นฐานวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย (x̄) ร้อยละ (P) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาพบว่า
1. โดยรวมทุกด้านก่อนประเมินทุกด้านมีค่าอยู่ในระดับน้อย ( x̄=1.60) เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าสูงสุดได้แก่ด้านบริบท (Context) มีค่าอยู่ในระดับน้อย( x̄=2.03) รองลงมาได้แก่ด้านกระบวนการ (Process) มีค่าอยู่ในระดับน้อย ( x̄=1.95) ส่วนด้านที่มีค่าอยู่ในระดับต่ำสุดได้แก่ด้านปัจจัย (Input) มีค่าอยู่ในระดับน้อย (x̄ =1.63)
2. โดยรวมทุกด้านหลังการประเมินมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =2.00) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ด้านผลผลิต (Product) มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.76) รองลงมาได้แก่ด้านกระบวนการ (Process) มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.71) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ด้านบริบท (Context) มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.58)
3. การประเมินผลก่อนประเมินและหลังประเมิน ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวนนักเรียน 42 คน แบบประเมิน จำนวน 34 ข้อ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.89 และ4.68 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการประเมิน พบว่า ค่าเฉลี่ยหลังการประเมินสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนประเมินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. โดยรวมทุกสถานะมีความพึงพอใจที่มีต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.42) เมื่อพิจาณาเป็นรายสถานะ พบว่า สถานะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา มีค่าอยู่ในระดับมากเท่ากันทั้ง 2 สถานะ (x̄ =4.50) รองลงมาได้แก่ครู มีค่าอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.42) ส่วนสถานะที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ผู้ปกครอง มีค่าอยู่ในระดับมาก ( x̄=4.27)