ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดโพธิ์
(แจ่มวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2563
ผู้ประเมิน สิบเอกหญิงเมคินี เพชรไพรินทร์ ผู้อานวยการโรงเรียนวัดโพธิ์
(แจ่มวิทยาคาร)
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
ปีที่ประเมิน 2563
_____________________________________________________________
บทสรุปสาหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดโพธิ์(แจ่มวิทยาคาร) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนาเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการรวมทั้งทราบปัญหาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุง พัฒนาการดาเนินงานของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดโพธิ์(แจ่มวิทยาคาร) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จานวนทั้งสิ้น 165 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโพธิ์(แจ่มวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2563 จานวน 59 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดโพธิ์(แจ่มวิทยาคาร) จานวน 92 คน ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดโพธิ์(แจ่มวิทยาคาร) จานวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วย แบบสอบถาม จานวน 9 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จานวน 1 ฉบับ แบบประเมิน จานวน 2 ฉบับ และแบบบันทึก 1 ฉบับ รวม จานวน 13 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟา หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม
ผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการครั้งนี้ สรุปผลตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน และนาเสนอผลของส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปเพื่อให้เห็นความเป็นมา ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีเกณฑ์ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ความต้องการจาเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
1.2 ความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
ข
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนาเข้า พบว่ามีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.2 ระดับความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.3 ระดับความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมิน ด้านกระบวนการ พบว่า มีเกณฑ์ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ร้อยละของกิจกรรมที่ดาเนินการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
3.2 ระดับความเหมาะสมของขั้นตอนการดาเนินงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้นผลผลิต
4.1 ร้อยละของนักเรียนมีน้าหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน พบว่า หลังจากดาเนินงานตามโครงการแล้วนักเรียนมีน้าหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.95% ผ่านเกณฑ์ประเมิน ในระดับปานกลาง
4.2 ร้อยละของนักเรียนมีส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน พบว่า หลังจากดาเนินงานตามโครงการแล้วนักเรียนมีส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.53 ผ่านเกณฑ์ประเมิน ในระดับมาก
4.3 ร้อยละของนักเรียนมีสมรรถภาพทางกายดีขึ้น พบว่า หลังจากดาเนินงานตามโครงการแล้วนักเรียนมีสมรรถนะทางกาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.23 ผ่านเกณฑ์ประเมิน ในระดับมากที่สุด
4.4 ร้อยละของนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดีขึ้น พบว่า หลังจากดาเนินงานตามโครงการแล้วนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.09 ผ่านเกณฑ์ประเมิน ในระดับมากที่สุด
4.5 ร้อยละของนักเรียนมีความฉลาดทางอารมณ์ดีขึ้น พบว่า หลังจากดาเนินงานตามโครงการแล้วนักเรียนมีความฉลาดทางอารมณ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.33 ผ่านเกณฑ์ประเมิน ในระดับมาก
4.6 ร้อยละของนักเรียนมีทักษะชีวิตดีขึ้น พบว่า หลังจากดาเนินงานตามโครงการแล้วนักเรียนมีทักษะชีวิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.04 ผ่านเกณฑ์ประเมิน ในระดับมากที่สุด
4.7 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับปานกลาง
4.8 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.9 ระดับความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
ค
ผลการประเมินโครงการ พบว่า ผลการดาเนินการโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดโพธิ์(แจ่มวิทยาคาร) ผ่านการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด มากและปานกลาง ซึ่งประเด็นการประเมินทั้ง 4 ด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ โดยประเด็นที่ผ่านมากที่สุดมี 1 ประเด็น คือประเด็นด้านกระบวนการ ผ่านเกณฑ์ประเมินระดับมากที่สุดทั้ง 2 ตัวชี้วัด รองลงมา คือด้านปัจจัยนาเข้า ผ่านเกณฑ์ประเมินระดับมากที่สุด 1 ตัวชี้วัด และมาก 2 ตัวชี้วัด ด้านผลผลิต ผ่านเกณฑ์ประเมินระดับมากที่สุด 3 ตัวชี้วัด ระดับมาก 4 ตัวชี้วัด และระดับปานกลาง 2 ตัวชี้วัด ประเด็นด้านบริบท ผ่านเกณฑ์ประเมินในระดับมากทั้ง 2 ตัวชี้วัด
ข้อเสนอแนะ
1. จากผลการประเมินพบว่า ประเด็นผลผลิตตัวชี้วัดร้อยละของนักเรียนที่มีน้าหนักตามเกณฑ์มาตรฐานผ่านเกณฑ์การการประเมิน ในระดับปานกลาง จึงควรมีการจัดกิจกรรมที่สามารถทาให้นักเรียนมีน้าหนักที่สมส่วน ไม่ผอม ไม่อ้วน โดยอาจเพิ่มเวลาในการออกกาลังกายใช้นวัตกรรมการออกกาลังกายอื่นๆที่เหมาะสม
2. จากผลการประเมินพบว่า ประเด็นผลผลิตร้อยละของนักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ดีขึ้น ผ่านเกณฑ์ประเมินในระดับ มาก แต่เมื่อพิจารณารายข้อยังต้องมีการพัฒนานักเรียนด้านนี้ จึงควรจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหา ให้นักเรียน ดี เก่ง สุข
3. จากผลการประเมินพบว่า ประเด็นผลผลิตระดับความพึงพอใจของนักเรียน ผ่านเกณฑ์ประเมินในระดับปานกลาง จึงควรจัดกิจกรรมที่นักเรียนมีความสนใจและให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรม เพื่อให้สามารถพัฒนานักเรียนได้อย่างตรงจุด