ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โรงเรียนวัดเชิงคีรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2
ผู้รายงาน นางสาวปุริมปรัชญ์ หน่อคาสุก
หน่วยงาน โรงเรียนวัดเชิงคีรี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
ปีที่รายงาน 2563
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โรงเรียนวัดเชิงคีรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการ และ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการประชากรที่ใช้ในการประเมินได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 1 คน ครู จำนวน 4 คน นักเรียน จำนวน 25 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 20 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 คน ( ไม่นับรวมตัวแทนครูและผู้บริหารจำนวน 2 คน ) รวมจำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคือ 1) แบบสอบด้านบริบทของโครงการ จำนวน 2 ฉบับ 2) แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3) แบบสอบถามด้านกระบวนการของโครงการ 4) แบบสอบถามด้านผลผลิตของโครงการ จำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่การหาค่าความสอดคล้อง (IOC) การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เป็นการวิเคราะห์เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมินโครงการพบว่า
จากการศึกษาการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยใช้การศึกษาทางไกล ผ่านดาวเทียม (DLTV) โรงเรียนวัดเชิงคีรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 สรุปผลการประเมินได้ดังนี้
1) ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evalution) ของโครงการเกี่ยวกับความต้องการ ของผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่พบผู้ปกครองต้องการให้มีการสอนซ่อมเสริมให้กับผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ ต้องการให้มีการออกนิเทศเยี่ยมเยือนเพื่อรับทราบปัญหาหรือชี้แนะแนวทางในการดำเนินงานและโรงเรียนมีความเหมาะสมในการจัดการศึกษาโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
2) ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evalution) ของโครงการ ของครู กรรมการสถานศึกษาฯ และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่พบเป็นโครงการที่ช่วยให้การบริหารการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในด้านการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้ โครงการสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัญหาตอบสนองความต้องการและสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดประสงค์ และ โรงเรียนมีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมสอดคล้องกับการดำเนินงานตามโครงการชุมชนให้การสนับสนุน
3) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evalution) ของโครงการโดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ที่พบด้านบุคลากร ครูและบุคลากรทางการศึกษาศึกษามีความรู้ความเข้าใจ สามารถจัดการศึกษาโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม(DLTV) ได้ ครูมีความรู้ความเข้าใจหลักการเหตุผลวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ มี และ ด้านงบประมาณ ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน มีส่วนร่วมสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานโครงการ
4) ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่พบมีการศึกษาสภาพปัญหาจุดแข็ง จุดอ่อน และเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและระบุความต้องการของโครงการมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ผู้รับผิดชอบและคณะทำงานเพื่อให้โครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีการประชุมวางแผนการดำเนินงานจัดทำแผนปฏิบัติการงานกำหนดกิจกรรมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและสามารถแก้ปัญหาได้ตรงประสงค์ นักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานและให้การสนับสนุนโครงการในทุกด้าน
5) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่พบครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง จัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริมให้กับผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ มีการติดตามแนะนำเพิ่มเติมระหว่างเรียน
6) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่พบครูมีการสอนซ่อมเสริมและติดตามแนะนำเพิ่มเติมระหว่างเรียนอย่างสม่ำเสมอมีจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และมีการส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม
7) ผลการประเมินโครงการ โดยภาพรวมทั้งโครงการ ทั้ง 4 ด้าน มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าได้คะแนน 76.66 จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านผ่านการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านปัจจัยนำเข้า (Input) มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.43 รองลงมาคือด้านผลผลิต (Product) มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.28 และด้านบริบท (Context) มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.13 ตามลำดับ