1. ความเป็นมาของนวัตกรรม
รูปแบบการบริหารโรงเรียนเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนแต่ละแห่ง เนื่องจากไม่มีการบริหารรูปแบบใดที่เป็นวิธีที่ดีที่สุดสาหรับการบริหารโรงเรียน ดังนั้นจึงได้ศึกษารูปแบบการบริหารโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพและนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารโรงเรียนบ้านสันติสุข และเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับผู้บริหารโรงเรียนอื่น ๆ ที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารจัดการต่อไป
2. แนวคิด/กระบวนการด้านการบริหารจัดการของโรงเรียนที่เป็นจุดเด่นคืออะไร
การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โรงเรียนบ้านสันติสุข ยึดหลักการบริหารแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ยึดหลักธรรมาภิบาล เน้นการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ คิดค้นนวัตกรรมรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้ SANTISUK MODEL มาใช้ในการบริหารจัดการศึกษา ทั้ง 4 ฝ่ายของโรงเรียน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารบุคคล งานบริหารการเงินงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป ส่งผลให้การดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน
3. การบริหารจัดการดังกล่าวส่งผลดีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอย่างไร
โรงเรียนบ้านสันติสุขมีการจัดโครงสร้างการบริหารงาน 4 ฝ่ายตามกฎกระทรวงศึกษาธิการกำหนดพร้อมกำหนดเป้าหมาย ขอบข่ายและระบุภารกิจในการบริหารจัดการไว้อย่างชัดเจนสามารถยืดหยุ่นพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนให้เป็นคนเก่ง ดี มีสุข ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้คู่คุณธรรม ยึดโรงเรียนเป็นฐาน กำหนดแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น โดยใช้เทคนิค SWOT จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของโรงเรียน ใช้กระบวนการวงจรคุณภาพ P-D-C-A และใช้ทฤษฎีการเสริมแรง (Reinforcement Theory) ตามเทคนิค 5 ใจ (ให้ใจ ได้ใจ ประสานใจ ให้กำลังใจ และดูแลรักษาใจ) ในการดำเนินงานนำไปสู่การปฏิบัติด้วยการกำหนดโครงการ/กิจกรรม ตามแผนปฏิบัติการประจาปี มีการรายงานผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมทุกครั้งเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจหรือสิ้นปีการศึกษา มีการนำผลการประเมิน ข้อเสนอแนะไปใช้ปรับปรุงการปฏิบัติงานตามแผน ไปพัฒนาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาระยะ 4 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปีอย่างต่อเนื่อง เกิดผลการพัฒนาอย่างรอบด้าน ทั้งด้านผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษาและชุมชน
4. ผู้บริหาร ครู นักเรียนและบุคลากร องค์กรภายนอก มีส่วนร่วมในความสำเร็จครั้งนี้อย่างไร
ในการขับเคลื่อนการบริหาร การดำเนินงานต่าง ๆที่ประสบผลสำเร็จนั้น โรงเรียนบ้านสันติสุขให้ ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม คุณภาพของงานเป็นการระเบิดจากภายในสู่ภายนอก คุณภาพของโรงเรียนต้องเกิดจากฝีมือของบุคลากรในโรงเรียน โดยบุคลากรภายนอกให้การสนับสนุน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน โดยครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหาร ผู้ปกครองและชุมชนตระหนักถึงภารกิจอันสำคัญนี้ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพของตนให้มีความพร้อมที่จะใช้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพศิษย์ คุณภาพของโรงเรียนและขยายผลสู่ชุมชนต่อไป
5. ข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
การบริหารโรงเรียนคุณภาพโดยใช้ SANTISUK MODEL นั้นเป็นรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งสู่การพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนอย่างสมดุลรอบด้าน เพื่อให้นักเรียนที่เป็นผลผลิต เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุข เป็นรูปแบบการบริหารที่มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และเหมาะสมตามห้วงเวลานั้นๆ จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียน ทำให้ได้นวัตกรรมรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนบ้านสันติสุข โดยใช้กระบวนการวงจรคุณภาพ P-D-C-A ในการดำเนินงาน และใช้ทฤษฎีการเสริมแรง (Reinforcement Theory) ตามเทคนิค 5 ใจ (ให้ใจ ได้ใจ ประสานใจ ให้กำลังใจ และดูแลรักษาใจ) ทาให้การดำเนินการบริหารจัดการศึกษาบรรลุตามเป้าหมาย มีรายละเอียดของการพัฒนานวัตกรรมการบริหารโรงเรียนคุณภาพ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 สำรวจและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านต่างๆ ของโรงเรียนโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทำให้ทราบถึงบริบทของโรงเรียนว่าขณะนี้อยู่ ณ จุดใด (Where are we now?) เพื่อจัดลำดับความสำคัญและกำหนดกรอบในการพัฒนานวัตกรรม
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการวางแผน (Plan) เป็นการออกแบบนวัตกรรมรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพโดยใช้ SANTISUK MODEL ที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนบ้านสันติสุข จากผลสรุปของการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคการพัฒนาโรงเรียนในขั้นตอนที่ 1 โรงเรียนคุณภาพจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานในอนาคตที่ชัดเจน จึงต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ ให้มองเห็นภาพแห่งความสำเร็จที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ๆ ที่มีความท้าทายต่อโรงเรียนด้วยปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งภายในและภายนอก เพื่อการพัฒนาเป็นโรงเรียนคุณภาพ (Quality School) ว่าเราจะไปสู่จุดหมายที่ต้องการได้อย่างไร (How do we get there?)
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นปฏิบัติตามแผน (Do) เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจกับบุคลากรทุกฝ่าย เพื่อนำนวัตกรรมรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้ SANTISUK MODEL ไปใช้ดำเนินงานในทุกภาคส่วนโรงเรียนคุณภาพต้องมีการกำหนดแนววิธีดำเนินการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในอนาคต เน้นการพัฒนาศักยภาพของคนให้สามารถพัฒนานวัตกรรมมีการทำงานเป็นทีม เพื่อสร้างคุณค่าให้กับโรงเรียนผ่านกระบวนการการจัดการความรู้ในโรงเรียนอย่างเป็นระบบ ในประเด็นจะต้องทำหรือเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเพื่อไปถึงจุดนั้น (What do we have to do or change?) การนำนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนคุณภาพโดยใช้ SANTISUK MODEL ไปใช้ในโรงเรียนบ้านสันติสุข นั้นเป็นการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีที่มีโครงการ/กิจกรรม ระบุขั้นตอนการดำเนินงานแบบ P-D-C-A อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับรูปแบบของนวัตกรรมการบริหารที่กำหนดไว้ โดยมีกลยุทธ์ในการดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ดังนี้
S: Strategic Management (การบริหารเชิงกลยุทธ์) เป็นการบริหารคุณภาพโรงเรียนโดยเริ่มจากการศึกษานโยบาย จุดเน้น กลยุทธ์ของหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อ 1) จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) 2) การปฏิบัติการ (Take Action) 3) การประเมินผล (Evaluation)
A: Assignment (กำหนดความรับผิดชอบ) การกำหนดบทบาทหน้าที่ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการจัดทำคู่มือการดำเนินงานและมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานทุกด้านภายในสถานศึกษา
N: Network (เครือข่าย) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน บ้าน มัสยิด ชุมชน โรงเรียน
T: Team work (การทำงานเป็นทีม) เป็นการทำงานโดยผู้บริหารโรงเรียนกระจายอำนาจให้ครู บุคลากรทางการศึกษาได้มีโอกาสเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงาน มีบรรยากาศในการทำงานที่เป็นแบบเปิด สร้างทีมงานที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการ มีคุณภาพและสมรรถนะสูง ส่งเสริมการเรียนรู้ของทีมงานเพื่อขับเคลื่อนสู่โรงเรียนคุณภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
I: Identity (เอกลักษณ์เฉพาะตัว) จัดกิจกรรมส่งเสริมลักษณะเฉพาะตัวของนักเรียนและชุมชน โดยมีการจัดกิจกรรมการสลามและอ่านดุอาห์ในช่วงเคารพธงชาติ และมีการสอนรายวิชาอิสลามศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖
S: Sufficiency Economy (หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง) การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการดำเนินชีวิต
U: Unit Management (การบริหารงานทั้งหน่วยงาน) การบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Base Management) เพื่อให้เกิดการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน
K: Knowledge (ความรู้) ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ตามศักยภาพ
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตรวจสอบ (Check) เป็นการประเมินผลและตรวจสอบการบริหารโรงเรียน จากการใช้นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนคุณภาพโดยใช้ SANTISUK MODEL โดยยึดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนในฝันที่กำหนดผลสำเร็จอย่างสมดุลรอบด้าน (BSC)
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Action) เป็นการสะท้อนผลการดาเนินงานตามสภาพจริง (Reflection) โรงเรียนคุณภาพต้องมีการพัฒนานวัตกรรมการบริหารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและคุณภาพของผู้เรียน ธำรงรักษาให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง จากการใช้นวัตกรรมรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพโดยใช้ SANTISUK MODEL มาวิเคราะห์และสะท้อนผลการดำเนินงานตามสภาพจริง (Reflection) เพื่อวิเคราะห์ว่ามีปัญหา อุปสรรคที่ควรแก้ไขและพัฒนาหรือไม่ ถ้าหาก ใช่ก็จะนำปัญหา อุปสรรคที่พบมาเป็นสิ่งที่จะต้องแสวงหาวิธีการแก้ไข ปรับปรุงในขั้นตอนของการวางแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอีกครั้ง ถ้าหาก ไม่ใช่ แสดงว่ารูปแบบนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้ SANTISUK MODEL บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ สามารถประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่และขยายผลการดำเนินงานสู่โรงเรียนและหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อพัฒนาสู่ความมีคุณภาพที่ยั่งยืนต่อไป