บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
นางสาวเพ็ญศิริ จันทร์ส่งแสง (2562 : บทคัดย่อ) รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนางานอาชีพของโรงเรียนบ้านหาดยาว ปีการศึกษา 2562 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาผลการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนางานอาชีพของโรงเรียนบ้านหาดยาว ปีการศึกษา 2562 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) (2) ประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการ ความจำเป็นความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ และความชัดเจนของเป้าหมายของโครงการ (3) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความพร้อมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของงบประมาณ และความเหมาะสมของกิจกรรมของโครงการ (4) ประเมินกระบวนการการดำเนินโครงการ เกี่ยวกับกระบวนการวางแผนการดำเนินการ การนิเทศติดตามและประเมินผลของโครงการ (5) ประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมและพัฒนางานอาชีพของโรงเรียนบ้านหาดยาว และ (6) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการส่งเสริมและพัฒนางานอาชีพของโรงเรียนบ้านหาดยาว ปีการศึกษา 2562 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 96 คน ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการประเมิน สรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน โดยภาพรวมพบว่า ตัวชี้วัด ประเด็นการประเมินทุกประเด็น และภาพรวมของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด คือ
1. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนางานอาชีพของโรงเรียนบ้านหาดยาว ปีการศึกษา 2562 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ผลการประเมินโดยรวมและรายด้านพบว่า การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนางานอาชีพของโรงเรียนบ้านหาดยาว ปีการศึกษา 2562 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ มีค่าเฉลี่ย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินบริบทของโครงการส่งเสริมและพัฒนางานอาชีพของโรงเรียนบ้านหาดยาว ปีการศึกษา 2562 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่พบว่าการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนางานอาชีพของโรงเรียนบ้านหาดยาว ปีการศึกษา 2562 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ด้านสภาวะแวดล้อม/บริบท มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนางานอาชีพของโรงเรียนบ้านหาดยาว ปีการศึกษา 2562 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินการตามโครงการส่งเสริมและพัฒนางานอาชีพของโรงเรียนบ้านหาดยาว ปีการศึกษา 2562 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ด้านกระบวนการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
5. ผลการประเมินผลผลิตโครงการส่งเสริมและพัฒนางานอาชีพของโรงเรียนบ้านหาดยาว ปีการศึกษา 2562 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ด้านกระบวนการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
6. ผลการประเมินผลการประเมินความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการดำเนินกิจกรรมตาม โครงการส่งเสริมและพัฒนางานอาชีพของโรงเรียนบ้านหาดยาว ปีการศึกษา 2562 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
จากผลการประเมินโครงการ ที่พบว่า โครงการผ่านเกณฑ์การประเมินในทุกประเด็นและทุกตัวชี้วัด โรงเรียนบ้านหาดยาว ควรดำเนินโครงการนี้ต่อไป และเพื่อให้การดำเนินโครงการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรนำผลการประเมินบางประเด็นและบางตัวชี้วัดไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไป
1. ประเด็นบริบทของโครงการ ควรมีการประสานกับชุมชนในพื้นที่หรือท้องถิ่นใกล้เคียงให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและจัดการเรียนรู้ตามทักษะชีวิตให้มากขึ้น เพื่อให้ดำเนินกิจกรรมมีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชนมากที่สุด
2. ควรจัดให้มีการระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วน เช่นทุนแรงงาน ทุนทรัพย์ สิ่งของต่าง ๆ เพื่อทำให้กิจกรรมโครงการเกิดประโยชน์สูงสุด
3. ควรจัดให้มีการนิเทศติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบ ศึกษาหารูปแบบการนิเทศให้สอดคล้องกับสังคม วัฒนธรรมของสถานศึกษา และบริบทสังคมท้องถิ่น
ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือศึกษาครั้งต่อไป
1. ควรมีการสำรวจความต้องการของผู้เรียนและผู้ร่วมกิจกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ เพื่อจะปรับเปลี่ยนกิจกรรมบางกิจกรรมให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป หรือนำเครื่องมือทันสมัยมาใช้ให้เหมาะกับสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง
2. ควรประเมินเกี่ยวกับปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อโครงการ เพื่อการพัฒนาสถานศึกษา องค์กรรอบสถานศึกษา ชุมชน และสังคม
3. ควรมีการจัดทำกิจกรรมหรือโครงการแบบเชื่อมสัมพันธ์กับสถานศึกษาอื่น ๆ โดยใช้วิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่าย เพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทใกล้เคียง