บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (200 ปี) สังกัดกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (200 ปี) ด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัย กระบวนการ และ ผลผลิต
รูปแบบของการประเมินโครงการ ใช้รูปแบบจำลอง CIPP Model ซึ่งเป็นการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ประเมินในด้านสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัย (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 51 คน นักเรียน จำนวน 269 คน ผู้ปกครอง จำนวน 269 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ มีจำนวน 5 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ ฉบับที่ 2 แบบประเมินกิจกรรมโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ คือ แบบประเมินกิจกรรม จำนวน 6 กิจกรรม กิจกรรมละ 10 ข้อ ฉบับที่ 3, 4 และ5 แบบประเมินความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และ นักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน ทั้งหมดเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้
1. การประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (200 ปี) โดยใช้รูปแบบ CIPP Model ในภาพรวม มีผลการประเมิน อยู่ในระดับมาก (X= 4.21; S.D.=.35) ส่วนผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (X= 4.18; S.D.=.50) ด้านปัจจัย(X=4.30; S.D.=.38) ด้านกระบวนการ(X=4.17; S.D.=.37) และด้านผลผลิตที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู ก.การวางแผนการจัดการเรียนรู้ (X= 4.17; S.D.=.48) ข.การจัดการเรียนรู้( X= 4.22; S.D. = .45) พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน (X= 4.20; S.D.=.38) และคุณลักษณะของผู้เรียนด้านการเป็นคนดี (X= 4.19; S.D.=.54) ด้านเป็นคนเก่ง(X= 4.11; S.D. = .43) และด้านการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (X= 4.17; S.D.=.54) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. การประเมินผลผลิต ด้านการดำเนินกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (200 ปี) จำนวน 6 กิจกรรม สรุปได้ว่าในภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (X=4.06) โดยที่กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ (X=4.19; S.D.=.57) มีผลการประเมินสูงสุดอยู่ในระดับมาก ลำดับที่รองลงมา คือผลการประเมินกิจกรรมที่ 4 กิจกรรมส่งเสริมความถนัดทางการเรียน (X= 4.13; S.D.=.47) และกิจกรรมที่ 6 กิจกรรมค่ายวิชาการนอกห้องเรียน (X= 4.11; S.D.=.47) ส่วนกิจกรรมอื่นมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากทุกกิจกรรม
3. การประเมินผลผลิต ด้านความพึงพอใจของบุคลากร สรุปได้ว่า ครูมีความพึงพอใจต่อผู้เรียน (X=4.24; S.D.=.59) และ การบริหารจัดการ(X=4.28; S.D.=.59) อยู่ในระดับมากทุกด้าน
4. การประเมินผลผลิต ด้านความพึงพอใจของผู้ปกครอง สรุปได้ว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษา ด้านวิชาการ(X=4.22; S.D.=.67) ด้านบุคลากรX=4.10; S.D.=.45) ด้านผู้เรียน (X=4.13; S.D.=.63) และด้านสัมพันธ์กับชุมชน(X=4.17; S.D.=.72)อยู่ในระดับมากทุกด้าน
5. การประเมินผลผลิต ด้านความพึงพอใจของนักเรียน สรุปได้ว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อครู (X=4.06; S.D.=.66) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้(X=4.05; S.D.=.64) และการให้บริการของโรงเรียน(X=3.97; S.D.=.68) อยู่ในระดับมากทุกด้าน