ื่ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ WPS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียน
แสดงความคิดเห็นด้วยกระบวนการคิดวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางวิระวรรณ สุภานันท์
สาขาวิชา ภาษาไทย
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ด้านการเขียนแสดงความคิดเห็นด้วยกระบวนการคิดวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ WPSเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนแสดงความคิดเห็นด้วยกระบวนการคิดวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ WPS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนแสดงความคิดเห็นด้วยกระบวนการคิดวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ประกอบด้วย 3.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการเขียนแสดงความคิดเห็นด้วยกระบวนการคิดวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ WPS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนแสดงความคิดเห็นด้วยกระบวนการคิดวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนวัดคลองชัน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย(Simple random sampling) ด้วยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลพื้นฐานครูผู้สอน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จ านวน 8 แผน 12 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เรื่องการเขียนแสดงความคิดเห็นด้วยกระบวนการคิดวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ 4) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Dependent Sample) และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณาวิเคราะห์ผลการวิจัยปรากกฏ ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ด้านการเขียนแสดงความคิดเห็น
ด้วยกระบวนการคิดวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ พบว่า ครูผู้สอนยังขาดการส่งเสริมให้นักเรียนใช้ศักพยภาพในการเขียนแสดงความคิดเห็นด้วยกระบวนการการคิดวิพากษ์เชิงคิดสร้างสรรค์ โดยเฉพาะการออกแบบกิจกรรมให้นักเรียนได้ใช้การวิเคราะห์แยกแยะ ไตร่ตรอง เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการแสดงแนวคิดโต้แย้ง สนับสนุน ประเมินค่า หรือตัดสินใจเลือกทางเลือกอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ ทั้งนี้ผู้สอนเห็นว่า การเขียนแสดงความคิดเห็นด้วยกระบวนการคิดวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรนำมาพิจารณาดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ประกอบกับผลการทดสอบการอ่านเขียนโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ด้านการเขียนที่ใช้กระบวนการคิดวิพากษ์และคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดคลองชันส่วนมากยังมีผลการทดสอบอยู่ในระดับพอใช้ และต้องได้รับการพัฒนาให้มีความสามาถด้านดังกล่าวเพิ่มขึ้น
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ WPS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนแสดงความคิดเห็นด้วยกระบวนการคิดวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีโครงสร้างครอบคลุมองค์ประกอบที่เหมาะสมในระดับมาก และเอื้อต่อการส่งเสริมความสามารถในการเขียนแสดงความคิดเห็นด้วยกระบวนการคิดวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนให้บรรลุผล รูปแบบการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ และขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้น ซึ่งมีผลการประเมินคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก และมีประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้จากการนำไปทดลองใช้มีค่าเท่ากับ 75.64/75.73
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ WPS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนแสดงความคิดเห็น
ด้วยกระบวนการคิดวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ WPS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนแสดงความคิดเห็นด้วยกระบวนการคิดวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์มีความสามารถในการเขียนแสดงความคิดเห็นด้วยกระบวนการคิดวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05