ชื่อเรื่อง การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
บูรณาการกิจกรรมฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติ วิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน สมเพียร เจาจาลึก
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโยลยี
ระยะเวลาศึกษา ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้ชีววิทยาด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ บูรณาการกิจกรรมเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติ วิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชาชีววิทยา บูรณการกิจกรรมอนุรักษ์ทัพยากรในท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของนักเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนนาแกพิทยาคม อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จำนวน 31 คน ซึ่งคัดเลือกโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (cluster Random Sampling) เนื่องจากสภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นแบบคละความสามารถ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 จำนวน 8 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.50 0.56 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.88 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.939
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t test Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ บูรณาการกิจกรรมเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติรายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 84.23/83.95 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพ มีความเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51