บทคัดย่อ
ชื่องานวิจัย ลีลาภาษาท่าและนาฏยศัพท์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1
ชื่อผู้วิจัย นางสาวธมณ กระแสสินธุ์
เสริมสร้างทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
รายวิชา ศิลปะ(ดนตรี นาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ13110 ปีการศึกษา 2563
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ
ที่มาของปัญหา
การเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทยตั้งแต่ในอดีตกาล เป็นการเรียนโดยเน้นการฝึกปฏิบัติ ครูสาธิต ผู้เรียนปฏิบัติตาม นักเรียนคนใดที่มีพรสวรรค์มีความจำเป็นเลิศย่อมมีข้อได้เปรียบกว่า คนอื่นๆ เพราะท่ารำมีจำนวนหลายท่าและในแต่ละเพลงก็มีท่ารำที่คล้ายคลึงกัน ต่อมาเมื่อการเรียน การสอนนาฏศิลป์เข้าสู่ระบบสถานศึกษาจึงมีการจดบันทึกท่ารำเพื่อให้ผู้เรียนจดบันทึกเก็บไว้ทบทวน ความทรงจำ โดยเริ่มแรกเริ่มจากการเขียนบรรยายท่าทางอธิบาย มือ เท้า ศีรษะ ต่อมามีการวาด การ์ตูนง่ายๆ ที่รู้จักกันในนามตัวไม้ขีด วิธีการนี้เมื่อผู้เรียนได้ทบทวนท่ารำในช่วงเวลาที่ไม่นานนัก ยังคงจดจำลำดับท่าของการแสดงได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปเป็นสิบๆ ปี เมื่อผันเปลี่ยนจากนักเรียนมา เป็นครูผู้ถ่ายทอดศาสตร์ด้านการแสดงแก่คนรุ่นหลัง ต้องการนำเพลงต่าง ๆ ที่ได้ผ่านการเรียนมาส่ง ต่อให้ผู้เรียนจำเป็นต้องเปิดบันทึกท่ารำที่ได้เขียนไว้แต่ไม่สามารถรื้อฟื้นได้ ด้วยลายมือที่อ่านยาก ทักษะการเขียนที่วกวนบ้าง การบรรยายท่ารำไม่ละเอียด อาจเนื่องมาจากหลายปัจจัย แต่ด้วยผู้วิจัย เคยประสบมาประเด็นสำคัญคือในสมัยที่เรียนไม่รู้คุณค่าของการจดบันทึก ผู้เรียนต่างจดเพื่อเอา คะแนนจึงมีการคัดลอกของผู้อื่นต่อๆกันมาไร้การวิเคราะห์ท่าทางด้วยตัวเอง และประเด็นที่สำคัญคือ ความเบื่อหน่าย และไม่เข้าใจในท่ารำ ดังนั้นเมื่อถึงเวลาจำเป็นต้องใช้ประโยชน์กลับไม่สามารถนำมาใช้ได้ เพราะไม่เข้าใจความหมายของท่ารำ
ในปัจจุบันได้มีนักวิชาการหลายท่านได้จัดทำนวัตกรรม ต่าง ๆ เพื่อมีความสะดวกของ ผู้เรียนด้านนาฏศิลป์ ได้กล่าวถึงการสร้างนวัตกรรมด้านการเรียนการสอนของนาฏศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกท่ารำโดยนำระบบบาลานเข้ามาใช้ ซึ่งเป็นการนำเอาทฤษฎีมาบันทึกตามแบบตะวันตก นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่าระบบการบันทึกท่ารำตามแบบ ตะวันตกปัจจุบันไม่ได้รับความแพร่หลายในวงการของนาฏศิลป์ ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญของ การบันทึกท่ารำมีความสำคัญหลายประการโดยเฉพาะ เป็นการฝึกฝนด้วยตัวเอง เป็นการทบทวน เพื่อให้มีทักษะด้านการแสดงที่ดี สามารถนำ
ไปใช้ก่อเกิดประโยชน์ได้ในอนาคต ดังนั้นจึงต้องการ ค้นหาวิธีการต่างๆ ที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจท่ารำมีความสนุกสนาน ความสมบูรณ์แบบ เข้าใจง่าย ไม่เกิดความเบื่อหน่ายแต่สามารถนำมาสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ตนเอง ด้วยเหตุนี้ท่ารำของนาฏศิลป์นั้น ส่วนใหญ่คือนาฏยศัพท์ และภาษาท่า ซึ่งผู้เรียนจะต้องทำการศึกษาอย่างถูกต้อง
ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะความรู้ความเข้าใจด้านภาษาท่าทางและนาฏยศัพท์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนวัดตะพงนอก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โดยใช้นักเรียนจำนวนทั้งหมด 35 คน ทำแบบทดสอบและแบบสังเกตุภาษาท่าและนาฏยศัพท์
ผลการศึกษาครั้งนี้ ปรากฏว่าการใช้แบบทดสอบ และแบบสังเกตุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 นักเรียนสามารถบอกความหมายของภาษาท่าและนาฏยศัพท์ได้ถูกต้อง คิดค่าเฉลี่ยไว้เป็นร้อยละ 70.90
ข้อเสนอแนะจากการทำวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง ลีลาภาษาท่าและนาฏยศัพท์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จะสามารถทำงานได้ดี เมื่อมีการเสริมแรงจากการใช้คำยกย่องชมเชยจากครูและคำแนะนำที่ถูกต้อง
เรื่อง ลีลาภาษาท่าและนาฏยศัพท์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1
ความสำคัญและที่มา
นาฏศิลป์เป็นมรดกและวัฒนธรรมประจำของชาติไทยที่เป็นเอกลักษณ์บ่งบอกถึงประวัติและความสวยงามของชาติไทย โดยจะเน้นเรื่องท่ารำ การแต่งกาย ภาษาที่ใช้ขับร้องเพลงในการแสดง
แต่ในปัจจุบันนาฏศิลป์ไทย จะประสบกับปัญหานักเรียนขาดทักษะความรู้ความเข้าใจท่ารำที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญ และถ้าไม่ได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง นักเรียนไม่สามารถปฏิบัติท่าทางที่ถูกต้องได้ จากการสังเกตของครูผู้สอนวิชานาฏศิลป์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 นักเรียนบางส่วนยังไม่เข้าใจความหมายของภาษษท่าและนาฏยศัพท์ สาเหตุดังกล่าวทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียนวิชานาฏศิลป์ในระดับชั้นของตนเองและระดับชั้นที่สูงขึ้น จึงทำให้มีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง ลีลาภาษาท่าและนาฏยศัพท์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
เพื่อส่งเสริมทักษะลีลาภาษาท่าและนาฏยศัพท์
ตัวแปรที่ศึกษา
จำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 35 คน
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะความเข้าใจด้านภาษาท่าและนาฏยศัพท์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 35 คน ผู้วิจัยได้ทำแบบทดสอบ ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ แบบทดสอบนาฏยศัพท์ ซึ่งมีความยากง่ายกับระดับชั้นของนักเรียนจำนวน 4 ชุด กิจกรรม และใช้การเสริมแรงโดยใช้การยกย่องชมเชย และให้คะแนนระหว่างทำกิจกรรม เพื่อพัฒนาการอ่าน สะกดคำให้สูงขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนเข้าใจความหมายของภาษาท่าและนาฏยศัพท์
2. นักเรียนสามารถปฏิบัติท่ารำตามภาษาท่าและนาฏยศัพท์ได้อย่างถูกต้อง
3. นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ในเรื่องการชมการแสดงนาฏศิลป์ไทยและการแสดงโขน
ขอบเขตการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการสร้างแบบฝึกเพื่อส่งเสริมทักษะความเข้าใจด้านภาษาท่าและ
นาฏยศัพท์ โดยใช้แบบฝึก 4 ชุดกิจกรรม เพื่อพัฒนาความเข้าใจความหมายและลีลาท่าทางที่ถูกต้อง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 มีขอบเขตการวิจัยครั้งนี้
1. จำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 35 คน
2. เนื้อหาวิชานาฏศิลป์ลีลาภาษาท่าทางและนาฏยศัพท์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 ชุดกิจกรรม
วิธีดำเนินการวิจัย
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
1 - 5 ก.พ.64 - ศึกษาสภาพปัญหา และวิเคราะห์แนวทางแก้ปัญหา
8 - 12 ก.พ.64 - เลือกลุ่มเป้าหมายนักเรียนชั้น ป. 3/1 จำนวน 35 คน
15 -19 ก.พ.64 - ทดสอบความเข้าใจภาษาท่าและนาฏยศัพท์ โดยใช้ชุดกิจกรรม 1, 2
(ผู้วิจัยทำการบันทึกคะแนน)
22 - 26 ก.พ.64 - วัดความเข้าใจภาษาท่าและนาฏยศัพท์ ชุดที่ 3, 4
1 - 5 มี.ค. 64 - เก็บข้อมูล
- สรุปวิเคราะห์ผลการวิจัย
- จัดทำรูปเล่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ชุดกิจกรรมความเข้าใจภาษาท่าและนาฏยศัพท์ จำนวน 4 ชุด
2. การเสริมแรงระหว่างปฏิบัติกิจกรรมคำยกย่องชมเชยการให้คะแนน
3. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลของนักเรียนจำนวน 35 คน จากการทดสอบความเข้าใจภาษาท่าและนาฏยศัพท์ มีจำนวนทั้งหมด 4 ชุดกิจกรรม
ชุดกิจกรรมที่ 1 ชุดทักษะภาษาทาท่าง และทำแบบฝึกทักษะภาษาทาท่าง ดีมากร้อยละ 40
ดีร้อยละ 17.14 พอใช้ร้อยละ 11.42 ควรปรับปรุงร้อยละ 31.42
ชุดกิจกรรมที่ 2 ชุดทักษะนาฏยศัพท์ และทำแบบฝึกทักษะนาฏยศัพท์ ดีมากร้อยละ 91.42
ดีร้อยละ 8.57
ชุดกิจกรรมที่ 3 การปฏิบัติจริงภาษาท่า ดีมากร้อยละ 97.14 ดีร้อยละ 2.85
ชุดกิจกรรมที่ 4 การปฏิบัติจริงนาฏยศัพท์ ดีมากร้อยละ 94.28 ดีร้อยละ 5.71
สรุปผลการศึกษาวิจัย
จากการศึกษา และวิเคราะห์คะแนนที่ได้จากชุดกิจกรรมความเข้าใจภาษาท่าและนาฏยศัพท์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 นักเรียนมีการพัฒนาด้านความเข้าใจความหมายและลีลาท่าทางที่ถูกต้อง นักเรียนสามารถทำคะแนนได้ดีตามลำดับเป็นที่น่าพอใจ และจากการวิเคราะห์ผลการทดสอบเป็นรายบุคคลยังพบว่ามีนักเรียนที่เรียนไม่สนใจ เท่านั้นที่คะแนนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะต้องมีการวิเคราะห์เป็นรายบุคคลต่อไป
การเสริมแรงขณะปฏิบัติกิจกรรมช่วยให้นักเรียนมีกำลังใจ และทำงานได้คะแนนดีขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1. การสร้างแบบชุดกิจกรรมความเข้าใจภาษาท่าและนาฏยศัพท์ อาจใช้รูปแบบอื่นนอกจาก
ชุดกิจกรรมชุดที่ 1- 2 และการปฏิบัติจริง 3 - 4 โดยอาจจะทำได้ในรูปของการเขียนตามรูปภาพที่กำหนดให้ ตามแต่ผู้วิจัยจัดทำ
2. การให้กำลังใจ คำยกย่อง ชมเชย หรือแม้แต่การใช้สื่อเข้าช่วยในการสอนสอนเช่น
รูปภาพ หรือครูปฏิบัติท่าทางต่างให้ดูและให้นักเรียนปฏิบัติตาม ทำให้นักเรียนสนุกกับการเรียนวิชานาฏศิลป์มากยิ่งขึ้น