ชื่อผลงาน รผลการพัฒนาชุดการสอน เรื่อง การโปรแกรมด้วยภาษาสแครตช์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นายโตมร เข็มมงคล
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ระยะเวลาที่ศึกษา 1 กรกฎาคม 2563 - 30 พฤศจิกายน 2563
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาสภาพ และประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนา ดการสอน เรื่อง การโปรแกรมด้วย micro:bit เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างนักเรียน และครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ (2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการสอน เรื่อง การโปรแกรมด้วย micro:bit เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสารการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอน เรื่อง การโปรแกรมด้วย micro:bit เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการสอน เรื่อง การโปรแกรมด้วย micro:bit เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวน 102 คน ครูผู้สอนของโรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์ จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 109 คน และเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 32 คน ได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบสอบถามความคิดเห็นสภาพ และประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาชุดการสอน เรื่อง การโปรแกรมด้วย micro:bit เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างนักเรียน และครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ (2) ชุดการสอน เรื่อง การโปรแกรมด้วย micro:bit เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การโปรแกรมด้วย micro:bit เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 แผน ใช้เวลาจัดการเรียนรู้ 15 ชั่วโมง (4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนและแบบทดสอบท้ายชุดการสอน เรื่อง การโปรแกรมด้วย micro:bit เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดการสอน เรื่อง การโปรแกรมด้วย micro:bit เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที แบบ Dependent group t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับสภาพ และการประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาชุดการสอน เรื่อง การโปรแกรมด้วย micro:bit เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้ระหว่างนักเรียน และครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อสภาพ และประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาชุดการสอน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 อยู่ในระดับความคิดเห็นมากที่สุด เมื่อจำแนกแต่ละรายการพบว่า ทุกรายการมีความความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.77-4.83 ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อสภาพ และประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาชุดการสอน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.86 อยู่ในระดับ ความคิดเห็นมากที่สุด เมื่อจำแนกแต่ละรายการทุกรายการมีความความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.71-5.00 แปลผล ได้ว่านักเรียน และครูผู้สอนมีความต้องการจำเป็นของการพัฒนาชุดการสอน เรื่อง การโปรแกรมด้วย micro:bit เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ชุดการสอน เรื่อง การโปรแกรมด้วย micro:bit เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ E1/ E2 เท่ากับ 82.10/81.97 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอน เรื่อง การโปรแกรมด้วย micro:bit เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน เรื่อง การโปรแกรมด้วย micro:bit เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด